สนทนากับเจ้าตัวเล็ก…เมื่อฉันอิจฉา…

  สนทนากับเจ้าตัวเล็ก…เด็กน้อยภายใน ตอน  …เมื่อฉันอิจฉา… โดย สุพัตรา   ฉัน : เด็กน้อยฉันมาแล้ว มาคุยกันเถอะ! เ ด็ ก น้ อ ย ภ า ย ใ น : ฉันก็มาแล้ว เย้! คิดถึงเธอจัง ฉัน : ฉันก็คิดถึงเธอ เ ด็ ก น้ อ ย ภ า ย ใ น : เธอเป็นอะไรรึปล่าว ? ฉัน : ปล่าว ฉันไม่เป็นไร แต่คือ…วันนี้ฉันรู้สึกอิจฉาเพื่อน  เ ด็ ก น้ อ ย ภ… Continue reading สนทนากับเจ้าตัวเล็ก…เมื่อฉันอิจฉา…

7 บทเรียนต้นไม้สอนมนุษย์

  ต้นไม้เป็นครูที่ยิ่งใหญ่ของเรา แสดงธรรมและสอนบทเรียนต่อชีวิตอยู่เสมอแม้เราจะสังเกตหรือไม่ พระพุทธเจ้าท่านก็เรียนรู้จากต้นไม้ ตรัสรู้ใต้ร่มเงาของโพธิใหญ่ เราลองสังเกตชีวิตของพวกเขา เราอาจได้บทเรียน 7 ข้อนี้หรือมากกว่า 1 แก่นแท้ของชีวิตไม่อาจตัดสินได้แค่ ฤดูเดียว ช่วงเวลาหนึ่งต้นไม้อาจทิ้งใบโกร๋น อีกฤดูงอกใบสะพรั่ง ฤดูกาลต่อมาอาจมีดอกไม้แบ่งบานตา แล้ววันหนึ่งก็ผลิผลสุกปรั่งให้กิน ชีวิตมีฤดูกาล วันนี้เราอาจเห็นตนเองหรือคนอื่นเหมือนต้นไม้ที่เหี่ยวเฉา วันหนึ่งเมื่อถึงฤดูกาลที่เหมาะสม อาจกลายเป็นต้นไม้ที่สวยเด่นสง่า 2 เปลือกนอกกับภายในแตกต่างกันได้ บางผลอย่าง มะเดื่อ “ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง” ผิวเปลือกงามข้างในแมลงแทะกิน หรือหลายผลไม้ที่ภายนอกเปลือกแข็งกระด้าง แต่ภายในอ่อนหวาน อย่างมังคุด ผลไม้จากต้นไม้สอนเราว่า สิ่งที่แสดงออกภายนอกอาจปกปิดภายในที่แตกต่างออกไปก็ได้ อย่าเชื่อแต่ภาพลักษณ์หรือสิ่งที่ตาเห็นหรือสัมผัสจับต้องได้เท่านั้น 3 ต้นไม้สอนเราให้ไม่ย่อท้อ และมานะขันแข็ง ถึงแม้บางฤดูกาลจะร้อนร้าย หรือสายฝนพายุกระหน่ำ ต้นไม้ก็เพียรพยายามปรับตัวให้อยู่รอด อดทนตรำตากแดดซึมซับปรับเปลี่ยนเป็นพลังหล่อเลี้ยงชีวิต แม้บ้างยืนต้นมิมีใครเห็นคุณค่า ก็ยังทำตามหน้าที่ของตนอยู่เสมอไป 4 ร่มเงาและผลไม้จากต้นไม้ มิได้หวงแหนเห็นแก่ตัว มิได้เลือกที่รัก มักที่ชัง ใครจะเด็ดหรือเก็บผลก็ยินดีต้อนรับ ต้นไม้เป็นแบบอย่างของใจเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อสิ่งที่ดีให้แก่ทุกๆ สรรพสัตว์  ตั้งแต่ดอกอันหอมกรุ่น ผลไม้เลี้ยงชีวิต จนถึงลำต้นตัวมันเอง กล่าวกันว่า… Continue reading 7 บทเรียนต้นไม้สอนมนุษย์

อย่าหนีแสงสว่างไปในเขาวงกต

บทความ “ไกด์โลกจิต” ตอน อย่าหนีแสงสว่างไปในเขาวงกต   ความกลัวทำให้เราหลับตา เราคิดไปเองว่าความทุกข์นั้นมืดดำ แท้จริงแล้วความทุกข์นั้นคือแสงสว่างที่เรามิกล้าเผชิญ เปลวแดดอาจทำให้เรารู้สึกอยากอยู่แต่ในร่มเงาอันปลอดภัย ทว่าต้นไม้กลับยืนหยัดขึ้นสู่แสง เป็นธรรมดาที่คนเรามักหนีความทุกข์ วิ่งหาร่มเงาพึ่งพิงหรือสร้างหลังคาคลุมตน ทั้งที่แท้จริงเราดั่งต้นไม้ และทุกข์นั้นคือแสงสว่าง เรากลัวร้อนหรือเผาไหม้จึงหลบเลี่ยงไป แต่ทุกข์นั้นคือสิ่งสำคัญที่ทำให้เรามีชีวิตและเติบโต จากการให้คำปรึกษา สิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตคือหลายคนรู้สึกยากที่จะเข้าใจสาเหตุที่ทำให้ตนเองทุกข์ มีคำว่ายากและเงื่อนไขมากมายที่จะกล่าวอ้างขึ้นเมื่อมาเห็นว่าปัญหาคืออะไรและพอมีทางแก้อย่างไร บางคนต้องการแสวงหาคำตอบมากกว่านั้น ต้องการดำดิ่งลงลึกซึ้งหรือหาคำอธิบายให้กับสิ่งที่กำลังเผชิญอย่างสำคัญเด่นชัด บางคนมั่นหมายกับคำตอบที่มีอยู่แล้วเป็นสมการอันซับซ้อนที่ยากจะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจ เราอาจพอสรุปได้ว่าจิตใจคนนั้นซับซ้อน แต่ก็ไม่เชิงจริงเสียทีเดียว ประเด็นสำคัญคือคนเรามักสร้างความซับซ้อนนั้นขึ้นมา ทำให้หัวใจเราเป็นเขาวงกตดีๆ หรือมีเงื่อนไขมากมายดังประตูซ่อนกล เราทำให้หัวใจเราซับซ้อนเพราะหวังปกป้องตัวตนเราจากความทุกข์ ตั้งใจให้ความทุกข์ที่เคยมีแตะไม่ถึงตัว วิ่งวนอยู่ในเขาวงกตแห่งใจ หาตัวตนเราไม่พบ ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายที่เราปกป้องตัวเองเรา การปกป้องตัวเรานั้นมีคุณค่า แต่การหลบเลี่ยงความทุกข์ด้วยการสร้างเขาวงกตหรือหนีปัญหา ยิ่งซ้ำร้ายปัญหาและขัดขวางแสงสว่างมิให้มาหล่อเลี้ยงชีวิต เรากลัวแดดมากเกินไป กลัวแสงสว่างจะเผาไหม้ตัวเราทุกข์ตรม ทั้งที่ธรรมชาติของชีวิตมิอาจขาดความทุกข์เพื่อหล่อเลี้ยงตัวเรามิให้ประมาท เข้มแข็ง อ่อนน้อม และเข้าใจชีวิตอย่างที่เป็น ชีวิตเป็นเช่นนั้น หัวใจเราก็เป็นเช่นอย่างที่เป็น แต่ความกลัวภายในกลับหล่อหลอมเราเป็นเขาวงกตที่ซ่อนตัวเราเองไว้จากแสงสว่างและความเข้าใจตัวเราอย่างที่เป็นจริง ต้นไม้เพียงยอมรับตัวตนและชีวิตอย่างที่เป็น จึงเติบโตและหยั่งรากท่ามกลางฤดูกาลต่างๆ โดยมิต้องเสียแรงหลบหนีความทุกข์ใด ต้นไม้มิได้สร้างหลังคาหรือเขาวงกตจิตใจ เพียงเผชิญหน้ากับสายลม ฝนตก และแดดจ้าอย่างผ่าเผย ถ้าสายฝนดั่งความเศร้า โลกนี้ก็มีความเศร้าอยู่มากมาย แต่ต้นไม้ยังคงสอนคนในศาลาคนเศร้าเสมอว่า ชีวิตก็เพียงเท่านั้น ฤดูกาลฝนมาแล้วก็ลับหาย… Continue reading อย่าหนีแสงสว่างไปในเขาวงกต

สะกดจิตในชีวิตประจำวัน

การสะกดจิตหรือพลังจิตไม่ใช่เรื่องพิเศษ แต่เป็นสิ่งธรรมดาที่เกิดขึ้นทุกขณะจิตและในชีวิตประจำวัน เมื่อเรารู้เท่าทัน และเมื่อเรารู้ใช้ เราย่อมเปลี่ยนความธรรมดานี้ให้แตกต่างและสร้างสรรค์ได้ ติดตามความรู้เพิ่มเติมได้ที่ www.youngawakening.org/write4life อ่าน หลักสูตรห้องเรียน พลังจิต ได้ที่ https://www.dhammaliterary.org/?page_id=3043  

เราไม่ได้อับแสง แต่เราหลงลืมตัวเอง

บทความ “ไกด์โลกจิต” ตอน เราไม่ได้อับแสง แต่เราหลงลืมตัวเอง   เราทุกคนต่างเหมือนดาวฤกษ์ เรามีแสงสว่างในตนเอง กล่าวคือ ทุกๆ คนต่างมีปัญญาและกำลังความสามารถซึ่งจะช่วยให้เราหาออกและคำตอบใดใดกับชีวิตได้ แต่เหตุใดเราจึงหลงลืมและละเลย แสงสว่างในตน หลายคนที่วิ่งไล่ไขว่คว้าหาแสงสว่างจากภายนอก ฉวยคว้าบุคคลหรือวัตถุเพื่อช่วยชูพลังใจ ให้มั่นใจให้รู้สึกมีค่า หลายคนเข้าออกการอบรมมากมายหลายหน เราได้มา สิ่งต่างๆ ที่ไขว่คว้าเพื่อหวังเติมพลังและแสงสว่าง รู้สึกเหมือนมีพลังมากมายในตอนต้น กลับแล้วเวลาผ่านเลยก็แห้งเหี่ยว หมดพลัง เบื่อหน่าย ไร้คุณค่า ดังว่าเรากำลังหลงทาง เที่ยวไล่แสงสว่างจากดาวดวงอื่น หมายมั่นให้ดาวตนนั้นสุกใส เราอาจเกาะกระแสแฟชั่น ยึดโยงเพจโซเชียลข่าวสารออนไลน์ เกาะติดการอบรมเทรนนิ่ง ฉวยเอาคุณค่าของสิ่งอื่นเข้ามาเป็นของตน เหมือนดังดวงดาวเอาตัวรับแสงจากดาวอื่น หลงลืมคุณค่าและความงามที่ตนเองมี ทั้งที่เราตางมีจิตใจเหมือนกัน มีจิตใจที่มีอำนาจจิต คิดปรุงแต่งและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้ เหตุใดเราจึงขาดพลังและโหยหาสิ่งอื่นทดแทน แต่เหตุใดคนบางคนกลับยืนหยัดด้วยแสงสว่างของตนเองได้ ย้อนมองที่การโหยหาของตัวเรา เราอาจพยายามเป็นอะไรที่อาจไม่ใช่ตัวเราเลย เราอาจไขว่คว้าบางสิ่งมาทั้งที่รู้ว่ามันไม่ยั่งยืน จิตใจที่คิดถึงส่วนขาดไป มักเห็นแต่สิ่งที่ขาดนั้นจนลืมความดีหรือสิ่งที่ดีที่มีอยู่แล้ว  เพราะการให้คุณค่ากับสิ่งที่ขาดไป จึงละเลยคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่ ความรู้สึกไม่พอใจ หรือโหยหาก็เกิดขึ้นตามมา บางทีเราก็รู้แล้วว่าตนเองมีแสงสว่างอยู่ภายใน มีปัญญา มีพลัง แต่เราขาดความแน่ใจว่ามันมีคุณค่ามากเพียงพอ หรือไม่กล้านำมันออกมาใช้ด้วยตัวเราเอง ย้อนมองที่การพึ่งพิงของตัวเรา เราพึ่งพาบางสิ่งมากเกินไปหรือไม่… Continue reading เราไม่ได้อับแสง แต่เราหลงลืมตัวเอง

“แข็งขัน” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๗

คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๗ ตอน “แข็งขัน” เขียนโดย ประชา หุตานุวัตร เขียนเสร็จเมื่อปลายเหมันต์ ปี ๒๕๔๘ แก้เกลาใหม่ ตุลาคม ๒๕๕๘ กระท่อมน้อยในทุ่งฝัน ชุมชนฟินด์ฮอน สก๊อตแลนด์   ไม่ว่าจะทะเลาะกันอย่างไรก็ตาม พอออกจากค่ายแล้ว  ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็มีสูงมาก แม้คนที่เป็นกำลังหลักหลายคนจะสอบติดมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด แต่ที่เหลืออยู่ในกรุงก็มากพอที่จะทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันได้ ชีรฯไปติดที่เชียงใหม่ ปกรณ์ ติดมอ.สงขลาฯ ป้อม ติดพยาบาลสงขลา  พวกเพื่อนห้องผมและจากเตรียมอุดมฯส่วนใหญ่ติดที่มหิดล รวมทั้งใหญ่ สันติสุข ศุภมิตร และวิญญู กลุ่มใหญ่ที่สุดจากค่ายติดครุศาสตร์จุฬาฯ จำได้ว่า๘ คนด้วยกัน ผู้ชายนั้นนอกจากผมและมนัสแล้ว ก็มีสมพร เพื่อนสนิทที่เรียนด้วยกันมาจากวัดบางปะกอกอีกคน  แต่เขาไปเรียนมัธยมที่วัดมกุฎฯ นอกนั้นก็มีศิริวรรณ จินดาพร อุษณีษ์ และ บุญดี  วรุธติดเกษตร แล้วก็ห่างออกไปเรื่อยๆ ผลการสอบของผมเอง แม้จะบอกว่าไม่ติดยึด แต่ก็ยังผิดหวังอยู่นิดหน่อยที่ไม่ได้ติด ๕๐ คนแรกของประเทศไทย แต่ยังอยู่ในประเภท เกินร้อยละ ๘๐ เข้าใจว่ามีชื่อประกาศลงหนังสือพิมพ์ด้วย อัตตามาถูกชดเชยได้ก็ตรงที่มาสอบเข้าครุศาสตร์ได้เป็นอันดับแรก แต่ก็หลอกตัวเองไม่ได้มาก… Continue reading “แข็งขัน” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๗

“คล้ายฝัน” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๖

คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๖ ตอน “คล้ายฝัน” เขียนโดย ประชา หุตานุวัตร เขียนเสร็จเมื่อปลายเหมันต์ ปี ๒๕๔๘ แก้เกลาใหม่ ตุลาคม ๒๕๕๘ กระท่อมน้อยในทุ่งฝัน ชุมชนฟินด์ฮอน สก๊อตแลนด์     ผมจำเรื่องราวที่ทำค่ายจริงๆได้น้อยมาก รู้แต่ว่าเป็นช่วงที่ความรู้สึกเข้มข้นมาก มองย้อนไปคล้ายเป็นความฝันเสียมากกว่าความจริง คงเป็นลักษณะจมอยู่ในเหตุการณ์อย่างหมกมุ่นจนไม่ได้มีมุมมองของคนนอกเลย ถ้าจะให้ชัดขึ้นคงต้องอาศัยความจำของคนอื่นด้วย เท่าที่จำได้ พอสอบเสร็จ เราก็แบ่งกันเป็นสองทีมใหญ่ๆ ทีมหนึ่งมนัสเรียกทัพหน้า ไปเตรียมค่ายที่สามโคก เพื่อรับพวกเราสามสิบกว่าคนที่จะมาอยู่ค่ายประมาณ ๒๐ วัน อีกคณะเรียกว่าทัพหลวง เตรียมเสบียงและอุปกรณ์ต่างๆและรับคนส่วนใหญ่ตามไป ผมไปกับทัพหน้า มนัสอยู่ทัพหลัง มนัสเคยเป็นโต้โผทำค่ายลูกเสือมาแล้ว จึงคล่องงาน พวกที่อยู่ทัพหน้าก็ทำหน้าที่ขุดส้วม เตรียมที่พักชายหญิง แยกจากกัน เตรียมที่อาบน้ำอาบท่า เตรียมที่ทางสำหรับทำอาหาร เราอาศัยวัดเป็นที่พักและประชุม พระมีไม่มาก รูปหรือสองรูปเท่านั้น ผมเข้าใจว่าตอนนี้มีรุ่นน้องชั้นมศ๔ เข้ามาร่วมจริงจังหลายคนแล้ว คนที่จำได้แม่นที่สุดก็คือประยุทธ  พฤกษางกูร จากเตรียมอุดมฯ ที่ไปเตรียมค่ายด้วยกัน เนื่องจากค่ายฝึกกำลังคน ไม่เน้นการสร้างวัตถุ ช่วงเช้าของทุกวันจึงมีรายการบรรยาย ระหว่างนี้คนที่อยู่กรุงเทพฯ ก็ติดต่อเชิญวิทยากรให้ไปบรรยายในค่ายด้วย ผมเข้าใจว่าบางคนอาจเชิญไว้ก่อนสอบ… Continue reading “คล้ายฝัน” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๖

รู้ทันการปกป้องตัวเอง

บ่อยครั้งที่เราปกป้องตัวเองอย่างเป็นอัตโนมัติ เพราะความกลัวที่ซ่อนเร้นอยู่ในหัวใจ การปกป้องตัวเองที่ไม่รู้ตัวมักก่อทุกข์ซ้ำและปิดกั้นตัวเรามากกว่าความทุกข์และปัญหาที่เกิดขึ้นเสียอีก ********* ที่มา : หลักสูตรการอบรม “เด็กน้อยภายใน” และอื่นๆhttps://www.dhammaliterary.org/

เด็กน้อยภายใน ทั้ง ๗

เราทุกคนต่างมีเด็กน้อยภายใน อยู่ในตัวเรามากมาย อ่านหลักสูตร เด็กน้อยภายใน ได้ที่ www.dhammaliterary.org/เด็กน้อยภายใน/