ใกล้ปิดรับสมัคร เขียนภาวนา ประจำปี 2566

  “ตลอดระยะเวลาหนึ่งเดือน ที่ได้เรียนคอร์สเขียนภาวนา นับเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิตตั้งแต่เกิดมา ในทุกๆวันได้มีกิจกรรม มีภาวะความรู้สึกที่เคล้าเคลียอยู่กับการภาวนา การเรียนรู้กายใจตลอด “กิจกรรมหัวข้อต่างๆที่ลงมือทำ ก่อให้เกิดการเห็น ความเข้าใจ การยอมรับสภาวะต่างๆ คลายความหนัก ความยึดถือลงเนืองๆ คำสนทนา การชี้สภาวะหรือสิ่งที่ติดอยู่จากครู อาจไม่ใช่คำชื่นชมให้กำลังใจทั้งหมด จนบางครั้งเกิดความขุ่นมัวในใจ แต่เมื่อม่านหมอกกิเลสนั้นสลายไป ได้เห็นว่าทุกคำชี้แนะนั้นเป็นความจริงอย่างที่สุด และกลับก่อเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกที่ควรมากยิ่งๆขึ้น “ความฟุ้งซ่าน นิวรณ์ห้า รู้สึกลดลง มีสมาธิมีสภาวะตั้งมั่นมากขึ้น มีความอดทน ทำในสิ่งที่ถูกที่ควรทำ แม้ในตอนเริ่มต้นก่อนที่จะลงมือทำกิเลสจะหลอกให้เราหยุด ในกับทั้งทางการภาวนาและบทบาทหน้าที่ทางโลก อุเบกขา เป็นสิ่งที่มักมองข้าม จนทำให้ทุกข์ รู้สึกผิด และเบียดเยียนตัวเอง ได้เข้าใจสิ่งนี้มากขึ้น “อิสระนั้นมิได้หมายถึงการทำอะไรก็ได้ตามใจอยาก แต่การทำตามใจอยากนั้นแหละ อาจเป็นคุกที่คุมขังเราไว้เรามิได้เดินเพื่อถึงจุดหมายใด แต่เพื่อทำให้ทุกย่างก้าวมีคุณค่าอย่างแท้จริง ยิ่งรีบ ยิ่งเร่ง ยิ่งออกไป ยิ่งค้นหา ยิ่งไม่เจอ” / คุณจักรทิพย์ (โจ๊ก) ผู้เรียนปี 2563   🌼 หลักสูตร #เขียนภาวนา Meditation Writing :… Continue reading ใกล้ปิดรับสมัคร เขียนภาวนา ประจำปี 2566

สิ่งที่ผู้ต้องขังได้รับในกิจกรรมเขียนบำบัด ในวันที่ 4 และ 5 ประจำปี 2566

  …รู้สึกดีใจที่ได้ระบายลงสมุดเวลาเราเครียดมันจะทําให้เรารู้สึกดีค่ะ …รู้สึกดีที่เราได้ระบายในเรื่องที่เราไม่ได้อยากให้คนอื่นรู้เรื่องของเราเราสามารถเขียนระบายลงในกระดาษ ได้ โดยที่เขาไม่รู้สึกอะไร ฟังได้หมด ถ้าเป็นคนอาจฟังแล้วรับไม่ได้ …ถ้าเราเขียนในข้อดีๆเราก็จะมีแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนหรือทําสิ่งที่ดีต่อไปนํามาเป็นแรงบันดาลใจได้ 📒 นี่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ผู้เรียนของเราได้รับจากการเขียนบำบัดใน “โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาผ่านการเขียนบําบัด กลุ่มผู้ต้องขังแดนหญิงในเรือนจําสมุทรปราการ” ในวันที่ 4 และ 5 จากทั้งหมด 12 วัน (เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2566) กิจกรรมในสองวันนี้เป็นการทบทวนชีวิตจากความทบทวนและเส้นทางที่ผ่านมา ใคร่ครวญความรู้สึกและความต้องการของตนเองในเหตุการณ์เหล่านั้นเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้และความเข้าใจต่อตนเอง ผู้ต้องขังที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ต้องคดีจากเรื่องยาเสพติด เกือบทุกคนมีโรคเรื้อรัง เป็นคนชายขอบที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงการเรียนรู้ที่ดี แม้แต่กิจกรรมในเรือนจำบางครั้งก็ไม่สามารถเข้าร่วมได้เพราะถูกจัดเป็นกลุ่มเปราะบางเนื่องด้วยปัญหาสุขภาพ มีพื้นเพที่ต้องพบเจอกับปัญหาความยากจน ความร้าวฉานในครอบครัว และความทุกข์ยากตั้งแต่วัยเด็ก เป้าหมายของเราคือการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญา โดยเริ่มจากความเข้มแข็งทางใจ แล้วบ่มเพาะกำลังของสติปัญญา เพื่อการเติบโตและการเลือกเส้นทางชีวิตในวันหน้าอย่างมีภูมิต้านทานต่อโลกที่หลายครั้งๆ ก็โหดร้ายกับเราเหลือเกิน …ชีวิตเหมือนกับสายน้ําต้องผจญกับทุกข์ปัญหาแต่เราก็ต้องสู้ต่อไปชีวิตจะสอนให้เรารู้ว่าต่อไปนี้เราต้อง ปรึกษาครอบครัวเราให้มากที่สุด อย่าใช้ชีวิตลําพัง …วันนี้รู้สึกมีความรู้สึกดีๆให้กับเพื่อนที่เราไม่ได้สนิทกัน พอได้จับคู่กันได้เล่าความรู้สึกของกันเราอาจจะ มองไม่ถึงจุดนี้ของเขา ทําให้เรามีความรักความเมตตาให้กับเขามากขึ้น …ได้รู้เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวของแต่ละคนไม่ได้มาจากที่สูงหรือต่ำเกินไป เราสามารถเป็นเพื่อนกันได้ มีความสุขในแบบหนึ่งได้ • เหมือนได้ย้อนอดีตและความทรงจําเก่าๆดีๆ ได้มิตรภาพจากเพื่อนทุกคน มีที่มามีเหตุการณ์ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน รู้สึกทําให้เราดีขึ้น 🙏 ติดตามกิจกรรมเปิดรับคนทั่วไปของเราได้ที่ https://www.dhammaliterary.org/open-course/ และเพจเฟสบุ๊ค สถาบันธรรมวรรณศิลป์… Continue reading สิ่งที่ผู้ต้องขังได้รับในกิจกรรมเขียนบำบัด ในวันที่ 4 และ 5 ประจำปี 2566

ในเมื่อเราทุกคนต้องตาย จึงควรเมตตากัน

  หลายๆ ครั้งเราก็ทะเลาะกัน เพราะเอาสิ่งอันไม่จีรังยั่งยืนมาเปรียบเทียบแข่งกัน ฉันเก่งกว่าบ้าง ฉันมีคุณธรรมมากกว่าบ้าง ฉันรักชาติยิ่งกว่า หรือฉันด้อยมากเรื่องทักษะนั้น ความรู้นี้ ถึงแม้สิ่งเหล่านี้ไม่มีอะไรที่กล่าวได้ว่าเป็นของฉันหรือตัวตนฉันได้อย่างแท้จริงเลย “สัตว์ที่ยืน นั่ง นอน หรือเดินอยู่ อายุสังขารหาได้เป็นไปตามด้วยไม่ วัยย่อมเสื่อมไปทุกขณะที่หลับตาและลืมตา” **** เราจึงไม่ควรประมาทเสียเวลาไปกับการจ้องจับผิดผู้อื่น จ้องทำร้ายและบาดหมางต่อกัน เพราะเวลาชีวิตของเราเองก็ถอยหลังลงไปเรื่อยๆ ในทุกขณะที่หลับตาและลืมตา เราเดินเข้าไปหาความตายใกล้มากขึ้นตามลำดับ ไม่พึงถือความผิดพลาดของผู้อื่นเป็นเรื่องจริงจังจนเป็นทุกข์ เพราะการกระทำทางกาย วาจา และใจของเขาเองก็อยู่ในกฎไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยงแท้ ย่อมมีเสื่อมลง และเป็นไปตามปัจจัยต่างๆ แม้แต่การกระทำดีๆ ของคนอื่นก็ไม่เอาเป็นตัวตนของเราหรือของๆ เราให้ยึดถือได้ตลอดไป ในนิทานชาดกของพระไตรปิฎกยังกล่าวอีกว่า “เพราะวัยเสื่อมไปอย่างนั้นหนอ อัตภาพย่อมบกพร่อง หนทางที่คนเดิน เมื่อต้องมีความพลัดพรากจากกันโดยไม่ต้องสงสัย หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ ควรมีเมตตาเอ็นดูกัน ส่วนที่ตายไปแล้ว ไม่ควรจะต้องเศร้าโศกถึง” **** คนทะเลาะกันเพราะจิตไปยึดติดในท่าทีการกระทำและบางด้านของอีกฝ่ายในลักษณะความเป็นตัวตน คิดไปเองว่าฉันและเธอไม่เหมือนกัน จนหลงลืมว่าวันหนึ่งต่างฝ่ายต่างก็ต้องเจ็บไข้ได้ป่วยและตายลงทั้งสิ้น เป็นเพื่อนร่วมทุกข์บนโลกใบนี้ทั้งสิ้น ในเมื่อทุกคนต่างต้องตาย เราจึงควรเมตตาต่อกัน ใช้เวลาที่ยังมีอยู่ของชีวิตตนเองเพื่อความสงบสันติแก่ตัวเองและผู้อื่น การยิ่งจงเกลียดจงชังให้ร้ายต่อกัน มิเคยทำให้ใจถึงความสงบสันติได้เลย และมีแต่พาชีวิตล่วงไปอย่างไร้ความหมาย สิ่งที่ล่วงไปแล้วไม่อาจคว้ามา สิ่งที่ยังมีอยู่คือสิ่งที่เราควรใส่ใจอย่างแท้จริง คนที่ยังอยู่กับเราคือคนที่เราควรเมตตาต่อกัน… Continue reading ในเมื่อเราทุกคนต้องตาย จึงควรเมตตากัน

หลักสูตรพิเศษ “บทกวี กับ การภาวนา”

  ขอเชิญศิษย์เก่าครูโอเล่และนักเรียนหลักสูตรต่างๆ ของสถาบันธรรมวรรณศิลป์ ร่วมเรียนรู้ผ่านกิจกรรม “บทกวี กับ การภาวนา” ค่าใช้จ่ายบริจาคตามกำลังทรัพย์ ในวันที่ 24 – 25 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น. – 16.30 น. ณ สำนักงานใหม่ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ซอย หมู่บ้านอยู่เจริญ 3 คลองสี่ ลำลูกกา (ระยะทาง 10 กิโลเมตร จากสถานี BTS คูคต / 13 กิโลเมตร จากสถานี BTS รังสิต) แผนที่ : https://goo.gl/maps/yRhQMPmr1nGSnJvB8   การอบรมพิเศษนี้ประกอบด้วยกิจกรรมการอ่านบทกวี การนั่งสมาธิ การฝึกเขียนบทกวีง่ายๆ ในรูปแบบของกลอนเปล่า กลอนสามบรรทัด กลอนไฮกุ และเทคนิควิธีการจากหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต และ เขียนภาวนา เน้นการฝึกปฏิบัติและการแลกเปลี่ยนทบทวนกับเพื่อนร่วมเรียน… Continue reading หลักสูตรพิเศษ “บทกวี กับ การภาวนา”

3 มิถุนายนนี้พบกับ write re-lete

  พบกับกิจกรรม “เขียน.ปล่อยวาง | Write & Re-lete” โดย อนุรักษ์ เม่นหรุม (ครูโอเล่) ผู้อำนวยการสถาบันธรรมวรรณศิลป์ นักเขียนผู้สร้างพื้นที่ให้แผ่นกระดาษเป็นที่ปลดปล่อยเรื่องราวจากข้างใน ในวันที่ 3 มิถุนายน 2566 เวลา 16.30 – 18.30 น. ณ ห้องนิทรรศการ มิวเซียมสยาม (MRT สนามไชย ทางออก 1) ในงาน Healing House: ฮีลละไม ใจละมุน   ลงทะเบียนเข้างานฟรี https://bit.ly/3MEh9Ng  

เรื่องราวโดยย่อของ อ.ประชา หุตานุวัตร และ สถาบันธรรมวรรณศิลป์

  เรื่องราวโดยย่อของ อ.ประชา หุตานุวัตร และ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2495 เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม “ยุวชนสยาม” สมัยเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ณ สวนกุหลาบวิทยาลัย มีบทบาทเคลื่อนไหวในขบวนการนักเรียนนักศึกษาที่มุ่งมั่นแสวงหาหนทางในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้เป็นธรรม ท่านเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาจึงลาออกไปเรียนรู้นอกรั้วมหาวิทยาลัยหลังจากเข้าเรียนได้ 3 ปี เพื่อแสวงหาครูอาจารย์และทำกิจกรรมที่ท่านสนใจ โดยมีอาจารย์สุลักษณ์ ศิวลักษณ์เป็นครูคนสำคัญที่คอยสนับสนุนและให้คำแนะนำ แนวคิดทางสังคมของท่านค่อยๆ เปลี่ยนแปลงจากความศรัทธาต่อลัทธิมากซ์ (Marxism) ที่มีตั้งแต่ครั้งเป็นนักเรียน เปลี่ยนเป็นการเชื่อมั่นต่อสันติวิธีและอหิงสา กระทั่งได้ออกบวชโดยมีนามฉายาว่า “พระประชา ปสนฺนธมฺโม” แล้วได้ศึกษาธรรมะกับท่านพุทธทาสเป็นเวลากว่า 7 ปี ในช่วงที่ออกบวชนั้นเองท่านมีผลงานทั้งการแปลหนังสือ ปาฎิหารย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ Miracle of Being Awake ของท่านติช นัท ฮัน, จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ The Turning Point เป็นต้น มีผลงานเขียน อาทิ อยู่อย่างขบถบนเส้นทางอุดมคติ , ศาสนธรรมสำหรับคนหนุ่มสาว… Continue reading เรื่องราวโดยย่อของ อ.ประชา หุตานุวัตร และ สถาบันธรรมวรรณศิลป์

คำกล่าวของ อ.ประชา จากความหลังครั้งยุวชนสยาม

  “ทุกอย่างที่ผมได้เลือก ได้ผ่าน ได้เรียนรู้ ล้วนเป็นคุณให้ผมก้าวจากก้าวหนึ่งมาสู่อีกก้าวหนึ่งได้อย่างมีคุณค่าเสมอ มาถึงตอนนี้ผมมองย้อนไป ก็ไม่มีอะไรที่ผมเสียใจกับการตัดสินใจที่ผ่านมาในชีวิต มีก็อยากขอโทษคนนั้นคนนี้ที่เราได้ทำร้ายเขา มากบ้างน้อยบ้าง หรือคนนั้นคนนี้ที่เราอาจจะทำร้ายในภายภาคหน้า ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เพราะเรายังรู้ไม่แจ้งแทงไม่ตลอดนั่นเอง กล่าวคือว่ากันถึงที่สุด เราก็ยังถูกครอบงำด้วยอวิชชาของเรานั่นเอง คนรุ่นผมน่าจะพูดถึงการเลือกของเราได้อย่างภาคภูมิใจต่อสาธารณะ อย่างน้อยเราก็ได้ใช้ชีวิตของคนรุ่นเราเป็นเดิมพันเพื่อทดลองพิสูจน์อุดมการณ์หนึ่ง และเพื่อนรักในกลุ่มของเรา (ยุวชนสยาม) หลายคนก็ได้เสียชีวิตไปในการนี้ แม้อุดมการณ์นั้นจะล้มเหลวมากกว่าสำเร็จ แต่การทดลองนั้นก็มีคุณค่า เมื่อผมคิดถึงประยุทธ์ สมพร ฤทธิชัย และคนอื่นๆ ที่ตายจากไปทีไร นอกจากผมจะอุทิศส่วนกุศลเท่าที่ผมเพียรสร้างมาให้เขาเหล่านั้นแล้ว ผมก็ได้บอกตัวเองว่า หน้าที่ของผมก็คือการทำให้การตายเหล่านั้นไม่เป็นหมัน ด้วยการรักษา “จินตนา บริสุทธิ์ ดุจสายลม” (มาจากเพลงประจำกลุ่มยุวชนสยาม) เอาไว้ แม้ผมจะไม่เชื่อในกรอบอุดมการณ์นั้นแล้วก็ตาม โดยหวังว่าความเจ็บปวดที่ตนเองและหมู่คณะได้ลุยผ่านมา จะทำให้เรามีปัญญาและกรุณามากขึ้น และไร้เดียงสาน้อยลงในการทำร้ายคนอื่นในนามของคุณงามความดี แต่ “ใครเลยจะรู้ได้” ในเมื่อเราท่านก็ยังไม่สามารถทะลุทะลวงม่านหมอกของอวิชชาได้เด็ดขาดจริงจัง การเกิดเป็นมนุษย์นั้นงดงาม การแสวงหาอย่างไม่ท้อถอยทำให้การเกิดนั้นสมค่า ความจริงใจต่ออุดมคติทำให้เราเคารพตนเองได้ แต่มนุษย์นั้นน่าสงสารเสมอ” เขียนโดย อ.ประชา หุตานุวัตร , 2548 เรียบเรียงจากข้อความส่งท้ายในต้นฉบับ “ความหลังครั้งยุวชนสยาม” ขออุทิศบุญกุศลจากคุณงามความดีที่สถาบันได้ดำเนินผ่านกิจกรรมต่างๆ กว่าสิบห้าปี… Continue reading คำกล่าวของ อ.ประชา จากความหลังครั้งยุวชนสยาม

สอนเด็ก เด็กต้องมีความสุข (สอนเด็กเขียน)

  วิดีโอสัมภาษณ์ครูโอเล่ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ผู้สอนหลักสูตร #เขียนเปลี่ยนชีวิต และ #เขียนภาวนา ในรายการวิทยุ “ขบวนการ สว. สูงวัยต้องไปต่อ” วันที่ 14 มกราคม 2566 ตารางกิจกรรมโครงการ www.dhammaliterary.org/open-course/  

ผลลัพธ์โครงการ “คุณให้เขา เราให้คุณ” ครั้งที่ 4

  โครงการ “คุณให้เขา เราให้คุณ” ครั้งที่ 4 ขออนุโมทนาบุญผู้เข้าร่วมโครงการทุกท่านที่ได้บริจาคให้กับองค์กรการกุศลต่างๆ ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนที่ผ่านมา ผลจากการดำเนินโครงการครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมรวม 32 ท่าน ได้สนับสนุนการบริจาครวมทั้งหมด 14,736 บาท แก่ 17 องค์กรการกุศลในประเทศไทย เป็นรายนามดังนี้ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย, มูลนิธิออทิสติกไทย, มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก, มูลนิธิบ้านนกขมิ้น, มูลนิธิดวงประทีป, มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม, มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก, โครงการช่วยเหลือเด็กกำพร้า, มูลนิธิเด็ก, มูลนิธิเด็กโสสะ, มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย, มูลนิธิหมู่บ้านพลัม, มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ, สหทัยมูลนิธิ, มูลนิธิหลวงตาน้อย, กองทุนอาทรประชานาถ, มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมโครงการทุกท่านมา ณ ที่นี้ ขอให้บุญกุศลที่ได้ทำร่วมกันเป็นปัจจัยส่งเสริมชีวิตให้มีความก้าวหน้าในหนทางที่ดีงาม ด้วยสติปัญญาและความมุ่งหวังที่ดีต่อไป ดังรายชื่อต่อไปนี้ได้แก่ คุณทักษิณา เหล่าคนค้า, เสาวลักษณ์ พูนทรัพย์หิรัญ, มุทิตา สารพัฒน์, รัชฎาพร สุวรรณรัตน์, หฤทัย โชติสุระกัลยา, นงนุช ตันติประภาส, ภัทร์ฐิตา… Continue reading ผลลัพธ์โครงการ “คุณให้เขา เราให้คุณ” ครั้งที่ 4

เขียนบำบัดผู้ต้องขังเรือนจำ เดือนที่ 2 / 2566

  ห้องเรียนเดือนที่ 2 ในโครงการ “พัฒนาสุขภาวะทางปัญญาผ่านการเขียนบำบัด กลุ่มผู้ต้องขังแดนหญิงในเรือนจำสมุทรปราการ” เมื่อเดือนมีนาคม 2566 ที่ผ่านมา . เดือนนี้เราได้ทบทวนประโยชน์จากการใช้บันทึกในช่วงระหว่างเดือนที่ไม่ได้อบรม รวมทั้งข้อดีของการเขียนบันทึกที่การพูดไม่มีหรือมีน้อยกว่า การเขียนอย่างไรให้สัมผัสหัวใจตนเองและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างทรงพลังจากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา และการก้าวข้ามจากพื้นที่ปลอดภัยของตนเอง . โจทย์ในการฝึกเขียนเล่าเรื่องในเดือนนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความสุขและช่วงเวลาวัยเด็ก พร้อมทั้งได้เรียนรู้ความเหมือนความต่างในที่มาชีวิตของเพื่อนร่วมเรียนผ่านกิจกรรมข้ามเส้น ผู้เรียนหลายคนเริ่มเขียนมากขึ้นในครั้งนี้ และร้องไห้เมื่อนึกถึงความทรงจำเกี่ยวกับครอบครัวและความทุกข์ในวัยเด็ก . โครงการของเราเป็นการต่อยอดจากกิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2558 ที่ทางเราได้ทำกับกลุ่มผู้ต้องขังแดนหญิงเป็นเวลากว่าหนึ่งปี เพื่อพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาในกลุ่มผู้ต้องขังใหม่ที่กว้างขึ้น ใช้การเขียนบันทึกบนพื้นฐานการเขียนบำบัดเป็นเพื่อนช่วยบ่มเพาะปัญญา ทัศนคติ และมุมมองที่เหมาะสมต่อการมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งในช่วงต้องขังและพ้นโทษ . เป็นการส่งเสริมธรรมะในแนวทางของธรรมวรรณศิลป์และกิจกรรมทางจิตตปัญญา โดยไม่ได้ใช้การฟังเทศน์หรือการบรรยายเป็นจุดสำคัญ . กิจกรรมโครงการในครั้งนี้มีทั้งหมด 9 เดือน รวม 12 วัน มาร่วมติดตามการเดินทางของโครงการและผู้เข้าร่วมอบรม ทางเพจ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ และเว็บไซต์ของเรา . สนใจเข้าร่วมอบรม #เขียนเปลี่ยนชีวิต #รู้จักตัวเองผ่านไพ่ทาโรต์ #ห้องเรียน #พลังแห่งจิต www.dhammaliterary.org/open-course/