“เพศฉันคือเธอ” คอลัมน์ ปัญญามีความรัก #๓

    เล็ก เธอเคยบอกว่าพ่อแม่กับตัวเธอเองนั้นมิอาจเข้าใจกันและกัน เพราะความต่างของเพศทำให้เป็นอุปสรรคขัดขวาง ฉันเองก็รับฟังเธอนะ คนที่อยู่ตรงหน้าฉันนี้หรือเบื้องหลังอักษร เพียงรู้ว่าเป็นเธอมิใช่กำหนดจำกัดด้วยเพศคำใด  เธอเคยบอกด้วยว่าในตัวฉันก็มีบางอย่างเหมือนแม่เธอด้วย และตนจะไม่ใส่ใจ ฉันก็ยอมรับสิ่งที่เธอกล่าวและการตัดสินใจนี้ แต่เล็กเอย พระองค์ท่านผู้เป็นเช่นนั้นมิเคยกล่าวเลยว่าเพราะเราเป็นหญิงชายผิดแผกจึงไม่สามารถเข้าใจกัน ท่านไม่ได้บอกเราให้มองใครคนหนึ่งเป็นหญิงหรือชายนะ แล้วเหตุใดที่คนเรามิอาจเข้าใจกันได้ และไยการเป็นเพศใดเพศหนึ่งจึงทำให้เธอและอีกหลายคนบนโลกนี้ทุกข์ใจนัก เพศ นั้นเป็นเพียงบทบาทสมมติหนึ่งนะคนดี เหมือนที่เราเคยเล่นสวมเป็นโจรบ้าง เป็นตำรวจบ้าง หรือเป็นเจ้าชาย เป็นเจ้าหญิงในวัยเยาว์ เราเพียงสวมบทนี้เพื่อทำหน้าที่ในแต่ละการเกิด เพศยังเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ หมื่นแสนการสมมติบทบาท นอกจากเพศแล้วก็ยังมีอาทิเช่น ตระกูลมีชื่อ ลูกคนนั้นคนนี้ เป็นคนถิ่นใดถิ่นหนึ่ง มีการศึกษา เป็นคนชั้นกลาง และอีกมากมายเลยนะเล็ก เราต่างเกิดมาเป็นเช่นพระองค์ท่าน คือเป็นผู้เช่นนั้นเอง เป็นเช่นนั้นเอง เป็นไปตามธรรมชาติ ธรรมดา แต่แล้วเจ้าสิ่งหนึ่งก็มาทำให้ใจเราพองฟู หรือเหี่ยวเฉาเกี่ยวกับสิ่งที่เราเป็น เล็กรู้ไหมสิ่งนั้นเรียกว่า มานะ เจ้าสิ่งนี้คือความถือคุณค่าและการเปรียบเทียบ เขาเหมือนดวงตามหึมาบนท้องฟ้าที่มืดดำของจิตใจ มีหลายดวงตาเลย ลองนับตามที่ฉันชี้นะ ๑ คือดวงตาที่ชอบกดข่มคนอื่น ๒ ชอบยกตัวเองให้สูง นี่กลุ่มดาวมหึมากลุ่มแรก  อีกหนึ่งมีดวงตามองว่าฉันดีกว่าเธอ มองว่าเราเท่าเทียมกัน หรือฉันแย่กว่าเธอ ดาวมานะยังมีอีกหลายรูปแบบเลย กลุ่มหนึ่งพวกเขามีอยู่… Continue reading “เพศฉันคือเธอ” คอลัมน์ ปัญญามีความรัก #๓

อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๑๐

อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ๑๐ ณ กันยายน ๒๕๕๘ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ 
อนุสารรายครึ่งเดือน คืนเดือนเพ็ญและคืนเดือนมืด ดาวโหลดได้ที่ https://www.dhammaliterary.org/wp-content/uploads/2015/09/อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๐.pdf อ่านเพื่อประจักษ์ชีวิต ลิขิตเพื่อใคร่ครวญตน     “อนุสารหรือวารสารเล็กๆ ออนไลน์เล่มนี้ได้ย่างก้าวสู่ฉบับที่สิบแล้ว ตามเจตจำนงมุ่งมั่นว่า เราเขียนเพื่อใคร่ครวญตน สู่การอ่านชีวิตอย่างประจักษ์แจ้ง และเพื่อมอบเมล็ดพันธุ์ธรรมวรรณศิลป์สู่สังคม”     ลำดับบทความในอนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๑๐ ๑. งานเขียนรางวัลธรรมวรรณศิลป์ เรื่อง หน้ากาก รูปภาพ สีเทา ๒. คอลัมน์ ลมหายใจจับปากกา ตอน พลังทั้งห้า ๓. คอลัมน์ ปัญญามีความรัก ตอน เพศฉันคือเธอ    

พลังทั้งห้า

  หายใจเข้า  เราน้อมพาอากาศและธาตุนานาเข้าสู่ร่างกาย ผ่านช่องทางหายใจและประตูต่างๆ เติมเชื้อพลังแก่ชีวิต เหมือนใส่ฟืนไม้หรือถ่านสู่เตา หายใจออก  เราจุดพลังในตนเองเฉกเช่นจุดไฟฟืน ปะทุความร้อนเป็นเปลวกระพือ ก่อนนำพลังออกมาใช้เพื่อกิจวัตรและกิจกรรมของตน  เหมือนการจุดไฟเพื่อประกอบอาหารหล่อเลี้ยงชีวี การเขียนก็เป็นเช่นการประกอบอาหาร เราต้องใช้พลังลงมือทำ ผลักดันให้ปากกาลากเส้นลิขิตอักษร เกิดเป็นงานเขียนชิ้นหนึ่ง ซึ่งท้ายสุดสิ่งนี้จะบ่มพลังในตัวผู้เขียนและผู้อ่านอีกด้วย ชีวิตจะก้าวไปข้างหน้าได้ เราจำเป็นต้องเรียนรู้แหล่งพลังงาน เราต้องมีวิธียังพลังนั้นให้ให้คงโหมแรงพอพาเราก้าวไป  เปรียบชีวิตกับรถยนต์ เราเติมแก๊สหรือน้ำมันแล้วยังไม่เพียงพอ เราจำเป็นต้องมีไฟฟ้าจุดติดเครื่อง ต้องมีน้ำมันเครื่องคอยหล่อเลี้ยง และที่สำคัญต้องมีพลังของการขับขี่จึงจะควบคุมรถยนต์ให้เคลื่อนที่ หายใจเข้า พลังของชีวิตนั้นมีอยู่หลายด้าน จำเป็นต้องดูแลให้ครบถ้วนเหมาะสม พลังของชีวิตนั้นแลคือสิ่งที่จะสร้างสรรค์งานเขียน หากเราไร้ซึ่งพลังชีวิตแล้วย่อมมิอาจเขียนผลงานที่ดีได้ เพราะการสร้างสรรค์คือการเคี่ยวคั้นเลือดเนื้อและจิตวิญญาณของเราเป็นเชื้อไฟ เช่นร่างกายต้องมีพลังในการสร้างและซ่อมแซมส่วนต่างๆของเราตลอดเวลา พลังของชีวิตนั้นคือพลังของการสร้าง หากเรามิอาจหล่อเลี้ยงพลังชีวิตตนอย่างเหมาะสม ใช้ชีวิตสิ้นเปลืองพลัง เราย่อมแห้งเฉาเหมือนพืชผักขาดการรดน้ำ หายใจออก ในทางพุทธศาสนา เราแบ่งพลังออกเป็นห้าส่วนด้วยกัน พลังเหล่านี้พาชีวิตเราเติบโตและก่อเกิดงานเขียนสร้างสรรค์ พลังอย่างแรกคือศรัทธาหรือความไว้วางใจ เมื่อเราพามือจับปากกา เราต้องวางใจในตนเองเพียงพอที่จะสร้างพื้นที่แห่งการเขียน ให้ความคิด ความรู้สึก และจินตนาการได้หลั่งไหลอย่างไม่มีการปิดกั้น วางใจว่าเรามีศักยภาพที่จะสร้างสรรค์อยู่แล้วเพียงต้องให้โอกาสลงมือทำ  วางใจในทุกความหมายที่ถ้อยคำปรากฏ วางใจว่าหน้ากระดาษแผ่นนี้คือพื้นที่แห่งการดูแลตนเองและการเติบโต ศรัทธาต่อคุณค่าของตนเอง เราจึงปล่อยเรื่องราวได้เดินทาง  ศรัทธาว่าการเขียนจะพาเราพัฒนาชีวิตทั้งมิติความคิด จิตใจ ร่างกาย และด้านอื่นๆ  เราจึงเขียนเพื่อบ่มเพาะชีวิต… Continue reading พลังทั้งห้า

“ธงใจเหนือความกลัว” คอลัมน์ ปัญญามีความรัก #๒

  เล็ก ในคำตอบที่เธอตอบฉันมา อีกหลายเรื่องราวที่เราคุยกันกาลก่อน ฉันพินิจเห็นความกลัวในใจเธอ ฉันเห็นความกลัวนั้นเกิดขึ้นอยู่ เหมือนเด็กน้อยแอบอยู่หลังบานประตู มีคุณผู้ปกครองอยู่หน้าบ้าน คือความรู้สึกภายนอก การตัดสินใจ และความคิดฟุ้งซ่านต่างๆ คอยปกป้องเด็กน้อยคนนี้  เล็ก เหตุการณ์หนึ่งซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นในเมืองกรุงหลวงของประเทศเรา ทำร้ายและพรากชีวิตผู้คนจำนวนมากนั้น เธอเห็นความกลัวเหมือนฉันไหม ความกลัวแพร่กระจายออกมาหลังเสียงกัมปนาท ฉันเฝ้าดู รับรู้ และเพียรเมตตาต่อความกลัวมากมายที่เกิดขึ้น เธอลองดูสิ มีข่าวลืมต่างๆ มีคำประณามสาปแช่ง อีกเสียงร้องอันเจ็บปวด ความพยายามหาผู้รับผิดชอบ คำพูดหลายคำเกิดก่อจากสัญญารับรู้เก่า อันตีความตัดสินบางกลุ่มหรือบางบุคคลไว้ กล่าวโทษกันและคาดคิดภัยร้ายสืบเนื่องเชื่อมต่อ ข่าวสารเล่นล้อเหตุการณ์เชื่อมโยง ความกลัวเกิดขึ้นฉับพลันเหมือนเสียงแห่งการทำลายแล้วแพร่กระจาย ฉันเองก็เห็นความกลัวในตนเอง ความห่วงใยบังเกิดขึ้นในใจฉัน ความกลัวกระตุ้นความคิดปรุงแต่งเป็นกังวล ในตอนนั้น หากฉันทำได้คงติดต่อไถ่ถามเธอเช่นกัน ขณะความกลัวกำลังครอบงำสังคม ฉันก็เห็นแง่งามผลิบานขึ้นน้อยๆ ด้วยการทำร้ายกันนี้หมายสร้างความกลัวและใจเกลียดชัง ดอกรักก็ยังมีพื้นที่หยัดยืน คนรู้จักกันที่ไม่เคยทักถามนานนับนาน ติดต่อกันทางไกล ใครต่อใครหลายคนส่งผ่านกำลังใจและความหวัง กิจกรรมการกุศลเกิดก่อ ช่วยเหลือกันแม้เป็นคนแปลกหน้าแปลกตา เส้นทางของเราอยู่ที่นี่ เล็ก ผู้ใดหมายทำลายชีวิตต่อหน้าท้าวมหาพรหม อาจจุดไฟความกลัวและความโกรธแค้นได้ แต่เขามิอาจทำลายความรักที่ยิ่งใหญ่ มหาพรหมยังคงคู่แผ่นดินนี้ งอกงามจากดินแม้พายุก้าวร้าว พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนเราว่าพรหมคือความรักนั้นอยู่ในสี่ประการ คือเมตตา กรุณา มุทิตา… Continue reading “ธงใจเหนือความกลัว” คอลัมน์ ปัญญามีความรัก #๒

อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๙

อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๐๙ ณ สิงหาคม ๒๕๕๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ 
อนุสารรายครึ่งเดือน คืนเดือนเพ็ญและคืนเดือนมืด   อ่านเพื่อประจักษ์ชีวิต ลิขิตเพื่อใคร่ครวญตน   ลำดับบทความในอนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๐๘ ๑. งานเขียนรางวัลธรรมวรรณศิลป์ เรื่อง ความทุกข์กับชีวิตของฉัน ๒. คอลัมน์ ลมหายใจจับปากกา ตอน ถ้อยคำของแม่ ๓. คอลัมน์ ปัญญามีความรัก ตอน ธงใจเหนือความกลัว   “คุณประโยชน์จากบทความในอนุสารฉบับนี้ ขออุทิศแก่คนดีและดวงวิญญาณบริสุทธิ์จำนวนมาก 
ซึ่งล่วงลับกับภัยร้ายในประเทศเราและไกลออกไป และขออุทิศแด่ดวงวิญญาณที่เสียสละตนบนเส้นทางแห่งมหาพรหม” บทความลมหายใจจับปากกานี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาเบื้องหลังการอบรม “เขียน = ปลดปล่อยชีวิต” ซึ่งครั้งนี้ได้ใช้เนื้อหาความเป็นแม่ เป็นหนึ่งในแกนหลักของกระบวนการ   ดาวโหลดอนุสารได้ที่ อนุสารธรรมวรรณศิลป์๐๙ https://www.dhammaliterary.org/wp-content/uploads/2015/08/อนุสารธรรมวรรณศิลป์๐๙.pdf   { ธรรมวรรณศิลป์ มี ๒ นัยยะสำคัญ… Continue reading อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๙

ถ้อยคำของแม่

  ายใจเข้า  ลมหายใจกระทบจมูก ช่องแห่งหัวใจรับรู้ เรารู้สึกแล้ว ผัสสะเกิดขึ้นแล้ว การหายใจเกิดขึ้นมา ลมหายใจบำรุงหล่อเลี้ยงร่างกาย เรากำลังมอบความรักแก่ชีวิตในปัจจุบันขณะ หายใจออก  เราโอบอุ้มร่างกายและจิตใจก่อนคลายออก โอบอ้อมกระแสลมสู่กายและคลายอ้อมจิตคืนสายลมสู่ธรรม เพราะมีแม่ จึงมีสรรพสิ่งต่างๆ เมล็ดพันธุ์ที่ร่วงหล่น ย่อมมีความเป็นต้นไม้ที่มา ในลูกนั้นย่อมมีแม่อยู่เสมอ ทว่าแม่นั้นมิใช่เพียงบุคคล เพราะเราเองก็มีแม่อยู่ในตนอีกด้วย เป็นผู้ให้กำเนิด บำรุงเลี้ยง อ้อมกอด และความรัก สิ่งเหล่านี้ดำรงในเลือดเนื้อและชีวิตชีวาลูกน้อย ขณะเราจรดปลายปากกา เราตั้งครรภ์ความคิดรู้สึกรู้สา คลอดถ้อยคำและเรื่องราวสู่โลกหน้ากระดาษ เราได้ชื่อเป็นผู้เลี้ยงดู คอยดูแลตรวจตราและปรับแต่งงานเขียน เรารับลูกคนนี้ไว้ในอ้อมแขน ถนอมและปกปักษ์รักษา มิให้ใครยื้อแย่ง หวงแหน เป็นเจ้าของชิ้นงาน เราอาจให้กำเนิดถ้อยคำเหล่านี้ ด้วยความรักและแรงสร้างสรรค์ หรืออาจคลอดเพราะใจอยากผลประโยชน์ หวังเงินทอง ความยินดี และการประกาศตัวตนให้เป็นที่ล่วงรู้ ความเป็นแม่ดำรงอยู่ในจิตใจ การถือกำเนิดเกิดขึ้นทุกขณะ ในชั่วพริบตา เรารับรู้ถ้อยคำนานา ความรู้สึกมาตกกระทบ ประสมเชื้อความจำในวันวานที่กอบเก็บ ตั้งครรภ์ความคิดนึก ปรุงแต่งเป็นตัวตน คลอดชีวิตเราในแต่ละวินาที เราต่างเป็นแม่ ผู้มีพลังสร้างสรรค์ มีมือที่สามารถหยิบยื่นและเพาะปลูกสิ่งต่างๆ แก่บ้านหลังใหญ่ เราสามารถประดิษฐ์ความคิด ความรู้สึก… Continue reading ถ้อยคำของแม่

“ในกงล้อมีเรา” คอลัมน์ ปัญญามีความรัก #๑

    เล็ก ฉันได้อ่านจดหมายและงานเขียนจากเธอหลายชิ้นทีเดียวนะ ต้องขอบอกว่า ฉันวุ่นว้าใจเพียงใดที่รู้ว่าเธอช่วงนี้ ป่วยเกินกว่าจะตอบจดหมายและเขียนสิ่งใดเพื่อคนอื่นด้วยความรักที่เธอมี ฉันจึงตัดสินใจลองเขียนบ้าง เพราะเมื่อคนตื่น ย่อมปลุกสิ่งต่างๆ ให้ตื่นขึ้น เฉกเช่นดวงตะวันพาดอกไม้เปิดดวงตาแห่งความงดงาม เพราะเธอเขียน ฉันจึงลงมือขีดเขียน วันสำคัญของศาสนาพุทธเพิ่งผ่านไปอีกครั้งแล้วนะ แต่เธอรู้ไหมว่า มีหลักธรรมลี้ลับข้อหนึ่ง ซึ่งใครๆ มักไม่ค่อยกล่าวถึง และไม่มองลึกลงไปถึงแก่นใจความสำคัญ เรารู้ชื่อแต่เราไม่ค้นหาต่อว่าสิ่งใดได้แอบซ่อนอยู่ หลักธรรมข้อนั้นกล่าวถึงกงล้อ กงล้อที่หมุนวน เคลื่อนโลกและจักรวาลไปพร้อมกับหัวใจของเรา แต่ไม่ใช่เพียงการเวียนว่ายตายเกิด และ ไม่ใช่เพียงกงล้อของจิตด้วย ทั้งสองก็เป็นส่วนหนึ่งในนี้แหละ เป็นกงล้อที่สำคัญมากทีเดียว เรารู้จักกันในนาม กงล้อแห่งธรรมอันเป็นนิรันดร์ เรียกตามภาษาบาลีว่า “ธัมมจักกัปปวัตตน” กงล้ออันนี้ ไม่ได้สำคัญเพราะมหาบุรุษได้กล่าวหรอกนะ และมิใช่เพราะเป็นหนึ่งเทศนาแรกท่ามกลางคืนเพ็ญเดือนแปด แต่เพราะว่าฉันกับเธอต่างอยู่ในกงล้อนี้นี่แล เช่นเดียวกับพวกเขาและพวกเธอในโลกนี้ คือส่วนหนึ่งแห่งกงล้อธรรม ผู้ที่จะพาให้กงล้อนี้หมุนเคลื่อนไปอย่างไร หมุนไปตามหัวใจและโลกเรา ดูสิ พวกเราสำคัญมากเพียงใด เราอาจเคยคิดแต่ว่าพระสงฆ์คือผู้เผยแพร่พระศาสนา หรือพระผู้เป็นเลิศหรือผู้บรรลุธรรมขั้นสูงคือมือที่จะผลักกงล้อธรรมเคลื่อนไป ทั้งที่พวกเราคือส่วนหนึ่งในธรรมจักรนี้ ในธรรมจักรอันยิ่งใหญ่ มีจักรธรรมทั้งสี่อันเป็นทิศวิถีพาเราขับล้อหมุนในหนทางที่ดีงาม อันได้แก่สิ่งที่อยู่ภายนอกตัวเราและภายในตัวเรา ดังนี้ ๑ อยู่ในที่ที่ดี เหมาะสม และถูกกาละอันเกื้อกูลต่อชีวิตกับการเติบโตมิติต่างๆของเรา ๒… Continue reading “ในกงล้อมีเรา” คอลัมน์ ปัญญามีความรัก #๑

อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๘

อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ๐๘ ณ สิงหาคม ๒๕๕๘ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ 
อนุสารรายครึ่งเดือน คืนเดือนเพ็ญและคืนเดือนมืด ดาวโหลดได้ที่ อนุสารธรรมวรรณศิลป์๐๘ https://www.dhammaliterary.org/wp-content/uploads/2015/08/อนุสารธรรมวรรณศิลป์๐๘.pdf     อ่านเพื่อประจักษ์ชีวิต ลิขิตเพื่อใคร่ครวญตน   ลำดับบทความในอนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๐๘ ๑. งานเขียนรางวัลธรรมวรรณศิลป์ เรื่อง เสียงเพลงในแสงและเงา ๒. คอลัมน์ ลมหายใจจับปากกา ตอน พามือเธอวางที่สายธาร ๓. คอลัมน์ ปัญญามีความรัก ตอน ในกงล้อมีเรา     { ธรรมวรรณศิลป์ มี ๒ นัยยะสำคัญ {หนึ่ง วรรณศิลป์ที่ส่งมอบความดี ความงาม และความจริงแก่ผู้อ่านและสังคม สอง วรรณศิลป์ที่ขัดเกลาจิตใจและชีวิตผู้ประพันธ์นั้นเอง } อนุสารธรรมวรรณศิลป์ จึงประกอบด้วย ข้อชวนคิด และ ข้อชวนเขียน… Continue reading อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๘

พามือเธอวางที่สายธาร

  หายใจเข้า  ณ ปลายจมูก เราสัมผัสกระแสแห่งชีวิต กลุ่มละอองลมหายใจ ไหลคล้อยเข้ามา ลึกยาวเพียงใด ให้กายใจสัมผัสรับรู้ หายใจออก  ร่างกายและลมหายใจ สัมผัสอ่อนโยนก่อนลับลาจากกัน หากลมหายใจเรายังคงมิอาจวางใจแข็งเกร็งเกินผ่อนคลาย หรือเร่งร้อนรน ลองสัมผัสด้วยการรับรู้ ให้เวลากับการพบและพรากจาก อ้อยอิ่งในปัจจุบัน สัมผัสลมหายใจเข้าออกอย่างทะนุถนอมด้วยรัก ชีวิตเราเหมือนสายธารอย่างไร หากเรามีสมุดบันทึกส่วนตัว หรือมีสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งตนได้จารึกการเดินทางของหัวใจและชีวิต ลองย้อนไล่เรียงอ่านทวน จากวันนี้สู่วันวาน จากช่วงนี้สู่อดีต จากเดือนก่อนสู่ปีก่อน ราวเดินย้อนสายน้ำหาจุดเริ่มต้น ชีวิตเราเหมือนสายธารอย่างไร หายใจเข้า ตรึกตรองไว้ในหัวใจเรา สำหรับนักเรียนการเขียนเยียวยาหรือผู้สนใจบันทึกดูแลตนเอง หยิบอุปกรณ์ขึ้นมา เขียนใคร่ครวญ ชีวิตเราเหมือนสายธาร การเดินทาง การเปลี่ยนแปลง และความลื่นไหล หายใจออก ลมหายใจเราเหมือนกระแสน้ำอย่างไร ใช้กายใช้ใจอ่านรับรู้ แล้วค่อยคล้อยหายใจเข้าอีกครา เขียนการทบทวนด้วยลมหายใจเข้า  สัมผัสกระแสธารที่ไหลรินสู่ร่างกาย ลึกลง ลึกลง ก่อนอีกกระแสธารหนึ่งวกย้อนเดินทางออกมา สู่อากาศภายนอกและท้องฟ้าจรดไกล สิ่งใดใดในจักรวาล เป็นอย่างน้อยสองลักษณะในตัวเอง อยู่ที่บริบทและการสังเกต หนึ่งเป็นก้อน หรือเราอาจเรียกเป็นอนุภาค สองเป็นกระแสธาร หรือเราอาจเรียกว่าเป็นคลื่น ลมหายใจเรานี้ก็เป็นละอองธุลีในอากาศ ล่องลอยอยู่ในห้อง… Continue reading พามือเธอวางที่สายธาร

การเขียนบำบัดร่วมกับกระบวนการจิตปัญญาศึกษา เพื่อส่งเสริมสุขภาวะผู้ต้องขังที่ติดเชื้อเอชไอวี

การเขียนบำบัดร่วมกับกระบวนการจิตปัญญาศึกษา เพื่อส่งเสริมสุขภาวะผู้ต้องขังที่ติดเชื้อเอชไอวี สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ร่วมกับ กลุ่มเพื่อนรัก โรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ได้ศึกษาและรายงานผลการศึกษา การเขียนบำบัดร่วมกับกระบวนการจิตปัญญาศึกษา เพื่อส่งเสริมสุขภาวะผู้ต้องขังที่ติดเชื้อเอชไอวี ใน โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research) จังหวัดสมุทรปราการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ณ อิมพีเรียล สำโรง จังหวัดสมุทรปราการ เอกสารรายงานโครงการ *ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่เว้นได้รับอนุญาตจากผู้เกี่ยวข้อง ดาวโหลดเอกสาร โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาผ่านการเขียนบำบัด กลุ่มผู้ต้องขังแดนหญิงในเรือนจำสมุทรปราการ เปิดหน้าเว็บไซต์ มองตนเองอย่างหม่นหมอง และ สภาพปัญหาที่พบ ผู้ติดเชื้อรู้สึกด้อยคุณค่า และ น่ารังเกียจ ผู้ติดเชื้อขาดแรงจูงใจรักษาตนเอง และไม่เรียนรู้พัฒนาตนเองจากปัญหา ผู้ติดเชื้อรู้สึกขาดความมั่นใจในการอยู่ร่วมกับสังคมและมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ ผู้ติดเชื้อขาดเจตจำนงเชิงบวกต่อการใช้ชีวิต ผู้ติดเชื้อไม่สามารถดูแลความรู้สึกเชิงลบในจิตใจ ผู้ติดเชื้อมีมุมมองเชิงลบต่อร่างกายตนเอง ผู้ติดเชื้อรู้สึกขาดอิสระ ขาดแรงบันดาลใจ และความฝัน กิจกรรมที่ดำเนินการ ระยะเวลา 6 เดือน มากราคม – มิถุนายน 2558   1. รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ผู้ต้องขังหญิง (เรือนจำสมุทรปราการ… Continue reading การเขียนบำบัดร่วมกับกระบวนการจิตปัญญาศึกษา เพื่อส่งเสริมสุขภาวะผู้ต้องขังที่ติดเชื้อเอชไอวี