3 ระดับของการเขียนภาวนา | เขียนภาวนา เบื้องต้น

  บรรยาย 3 ระดับของการเขียนภาวนา เพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายในการปฏิบัติขัดเกลาจิตด้วยการเขียน ผ่านหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต หัวข้อ “เขียนภาวนา” โดยทั้งนี้ยังสามารถนำหลักดังกล่าวมาสะท้อนตรวจทานการปฏิบัติธรรมในระบบอื่นๆ ได้ตามความเหมาะสม … โดยครูโอเล่ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ www.dhammaliterary.org          

เขียนภาวนา | พื้นฐาน

  คลิปแนะนำการเขียนภาวนา โดยการเขียนภาวนาจริงจากครูโอเล่ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ สำหรับผู้เรียนในหลักสูตร และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ www.dhammaliterary.org  

รวมบทเรียน พลังแห่งจิต กึ่งออนไลน์ รุ่นที่ ๖ (๕)

    “ตอนระลึกถึงความรัก ตอนแรกที่บอกว่ามันแวบความรู้สึกโดดเดี่ยวขึ้นมา แต่ไม่นานภาพแม่ก็ขึ้นมาแทน นัยน์ตารื้นขึ้นทันที ยิ่งนึกยิ่งคิดถึงน้ำตาก็ไหลออกมา รับสัมผัสตรงนี้มันลึกมากค่ะ เข้าไปถึงหัวใจ เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่มาก เขียนมาถึงตอนนี้เลยนึกขึ้นได้ว่าเราไม่ค่อยได้ดึงพลังแห่งความรักของแม่มาเป็นพลังหล่อเลี้ยงใจเราเท่าไร ทั้งที่ดูน่าจะเป็นพลังที่แข็งแกร่งที่สุด และสำหรับตัวเองจุดนี้ (จักระ)ก็ค่อนข้างจะอ่อนแอเปราะบางด้วย . ตอนครูให้กำหนดใจบริเวณหน้าผาก ตรงกลางเหนือหว่างคิ้ว จินตนาการถึงแสงสีน้ำเงิน สว่างบริเวณนี้ครู่หนึ่ง แล้วพาใจนึกถึง ช่วงเวลาที่เราได้เรียนรู้อะไรบางอย่าง หรือเกิดไอเดียที่ดีขึ้น ตอนนั้นนิ่งไปนิดนึงค่ะ บริเวณหว่างคิ้วเหมือนมีแรงดึงดูด ไม่เห็นสีน้ำเงิน แต่เห็นความคิดตนแวบนึงว่า ในห้วงที่ผ่านมาดูเหมือนเราจะว่างเปล่ามาก ไม่มีสิ่งใดดีๆเกิดขึ้นกับชีวิตเลย แล้วภาพในห้องเรียนก็ปรากฏขึ้นมาแทนค่ะ แล้วความรู้สึกที่หว่างคิ้วก็หายไป เห็นเป็นภาพในกรอบสีทองที่ครูพาจินตนาการ ตอนนั้นในใจก็ย้อนความรู้สึกในห้องเรียนขึ้นมา คือเป็นความอบอุ่นที่อาจารย์ที่เคารพรักท่านมองเห็นเรา เชื่อมั่นในตัวเราและปรารถนาให้เรามีความสุข ประสบความสำเร็จในชีวิตทุกเรื่อง เป็นภาพที่ชัดเจน พอมาระลึกอีก ก็เหมือนดูหนังซ้ำย้ำเตือนตนเองอีก แถมยังได้บอกกับตนเองในใจอีกว่า “เราเก่ง เราทำได้ เราประสบความสำเร็จได้” . เมื่อจบกิจกรรมจึงรู้สึกอบอุ่นใจค่ะครู มาถึงตอนนี้ก็มีความคิดเพิ่มจากการบันทึกแลกเปลี่ยนนี้ว่า ความสามารถเรามีอยู่ในตน อาจห่างหายไปเพราะสถานการณ์บางอย่าง ขอให้เรารู้ตัวและระลึกรู้ถึงสิ่งนั้นอย่างที่เขามีอยู่ในตัวเราตลอดเวลาไม่เคยทิ้งเราไปไหน เราควรสื่อสารกับเขาให้มากสัมผัสเขาบ่อยๆ และเมื่อเรารู้สึกเหนื่อยท้อให้นึกถึงพลังความรักของแม่และครูอาจารย์ที่ปรารถนาดีต่อเราเสมอมา” . บทเรียนจากกิจกรรมปรับพื้นฐาน หลักสูตร #ห้องเรียน #พลังแห่งจิต… Continue reading รวมบทเรียน พลังแห่งจิต กึ่งออนไลน์ รุ่นที่ ๖ (๕)

รวมบทเรียน พลังแห่งจิต กึ่งออนไลน์ รุ่นที่ ๖ (๔)

    บทเรียนการอบรม “#ห้องเรียน #พลังแห่งจิต” รุ่นที่ ๖ กี่งออนไลน์ * * * * * “วันนี้ลองทำซ้ำกิจกรรมเดิม แต่ก่อนทำได้ทำกิจกรรมเสริม 6-7 พร้อมและต่อเนื่องกันไปเลย เพราะคิดว่สทั้งสองกิจกรรมเอื้อต่อกันค่ะครู พอได้เริ่มรู้สึกว่าจิตเราสงบไม่ส่งออกนอกมีความรู้สึกผ่อนคลายจิตออกไป ตอนที่บอกกับตัวเองว่าเรารับพลังเข้ามา และตอนหายใจออกบอกว่าเราได้ทำในสิ่งที่มีคุณค่านั้นรู้สึกมีพลังบางอย่างวิ่งอยู่ในกาย ทำให้รู้สึกอิ่มเอมบอกไม่ถูกค่ะ . สำหรับกิจกรรมปล่อยวางพอได้ทำซ้ำแล้ว บทเรียนที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้คือ ร่างกายหรือความรู้สึกของเรามันบอกกับเราว่าบางอย่างที่มันผ่านมาแล้ว บางทีเรายังเก็บไว้อยู่ในใจ พอเราได้ย้อนกลับไประลึกถึงทั้งสิ่งที่พอใจและไม่น่าพอใจ ทั้งสิ่งของ ทั้งความรู้สึกขณะทำนั้น ไม่ว่าความเจ็บปวดหรือความเมื่อยต่างๆก็ดี หากเราเอาจิตไปจับไปให้ความสำคัญกับมัน เราจะรู้สึกทุกข์กับมันมาก การพยายามนึกถึงสิ่งที่ทำให้ไม่พอใจ มันทำให้จิตรู้สึกอึดอัดแน่น ต่อเมื่อใจ้ราคลายออกได้ ไม่ยึดไม่เกาะเกี่ยวบอกดับตัวเองให้ให้ปล่อยวางมันไป เรารู้สึกเลยว่าใจโล่งเบาไม่อึดอัด แม้แต่ความเจ็บปวดของร่สงกายพอเราไม่ใส่ใจบอกตัวเองว่าปล่อยวางอาการนี้ซะมันกลับไม่ทุกข์ทรมานแม้เราจะรู้สึกว่า อาการนั้นยังคงอยู่แต่มันไม่อาจเข้ามาทำร้ายจิตใจเราได้ มันทำให้เราตระหนักว่าทุกวันที่เราเป็นทุกข์เพราะเราเอาปัญหาหรือสิ่งที่รู้ว่าทำให้ทุกข์เอามาเก็บไว้ จริงๆถ้าเราแค่รู้ว่ารู้สึกทุกข์ โดยไม่ต้องไปจมจ่อมอยู่กับมัน ความทุกข์มันก็ทำร้ายเนาไม่ได้แล้ว ทุกอย่างอยู่ที่ความคิ อยู่ที่มุมมองของเราจริงๆนะคะครู . ขอบคุณครูอีกครั้งที่ให้ทำหัวข้อนี้ซ้ำทำให้เข้าใจและรู้ว่าการปล่อยวางคือการวางใจไม่ไปยึดกับสิ่งใดที่ทำให้ใจเป็นทุกข์นั่นเอง วันนี้รู้สึกโล่งๆเบาใจค่ะ” . จากคุณเพียงใจ (จุ๋ม) อาชีพ พนักงานรัฐวิสาหกิจ *… Continue reading รวมบทเรียน พลังแห่งจิต กึ่งออนไลน์ รุ่นที่ ๖ (๔)

รวมบทเรียน พลังแห่งจิต กึ่งออนไลน์ รุ่นที่ ๖ (๓)

    บทเรียนจาก หลักสูตร #ห้องเรียน #พลังแห่งจิต รุ่นที่ ๖ * * * * * * หัวข้อ “นักรบภายใน” วิเคราะห์สถานการณ์ที่ไม่กล้าเผชิญ : ผมคิดถึงเรื่อง “การเงิน” 1. ภาพนักดาบซามูไร ปรากฏอยู่ในความคิด ภาพที่เห็นสิ่งที่เผชิญอยู่ คือ ปีศาจเงินตรา มันยื่นแขน ขา ยาวเฟื้อย แถมมีนิ้วมือ นิ้วเท้าที่มีรูบานใหญ่ตรงปลาย ที่สามารถพร้อมดูดเอา ธนบัตร เหรียญออกจากตัวของผม ออกจากกระเป๋ากางเกงของผม ได้อย่างง่ายดาย ผมเห็นภาพนักดาบ สาวมีดดาบคมกริบประจำตัว ฟันฉับ! เข้าที่มือและเท้าของเจ้าปีศาจเงินตราตัวร้าย ที่คอยดูดกินเงินตราของผม ภาพแขนขาของมันขาดสะบั้น กระเด็นกระดอน ก่อนที่สุดท้ายร่างของมันจะแตกสลาย หายไปในอากาศ 2. ภาพของปีศาจร้ายปรากฏตัวขึ้นอีกครั้ง แต่คราวนี้ การดูดเงินของมัน พยายามปรากฏในรูปแบบการใช้เงิน ของตัวผมเองในรูปแบบต่างๆ แทน เช่น การอยากได้รองเท้ากีฬาที่ถูกใจคู่ใหม่ การอยากไปทานอาหารญี่ปุ่นที่คุ้นลิ้น… Continue reading รวมบทเรียน พลังแห่งจิต กึ่งออนไลน์ รุ่นที่ ๖ (๓)

รวมบทเรียน พลังแห่งจิต กึ่งออนไลน์ รุ่นที่ ๖ (๒)

    “วันนี้ทำกระดาษเปล่าอีกครั้งแล้วสังเกตอย่างที่ครูแนะนำค่ะ พบว่าภาพที่เราสร้างขึ้นมาบนกระดาษ จิตเราเป็นคนสร้างขึ้นมาเอง ตอนที่ลบจิตเราก็ลบออกไปเอง ความทุกข์ หรือคำไม่ดีที่พูดกับตัวเอง อันไหนลบง่ายคือจิตยึดติดกับมันน้อย ลบยากจิตยึดติดกับมันมาก และเหมือนกันทั้งความทุกข์กับความสุขจิตนั้นสร้าง และยึดติดไว้เอง ตอนลบภาพเหมือนให้จิตได้คลายความยึดติดกับภาพ คำพูดหรือสิ่งต่างๆ ที่จิตสร้าง ปรุงแต่ง ยึดไว้ ให้คลาย ให้ปล่อย ขณะที่จิตมีสติและสมาธิมาก จิตก็มีกำลังในการจัดการปล่อยวางความยึดติดทั้งหลายเหล่านั้น กระดาษเปล่าสอนว่าจิตเดิมมันว่าง ภาพที่อยู่บนกระดาษเปล่าไม่มี เป็นเพียงสิ่งที่จิตสร้าง ปรุงแต่งและจิตที่สร้างนี้ก็มีกำลังที่จะละวาง ลบภาพเหล่านั้นได้ตามความต้องการของจิตนั้น นี่เป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกตค่ะ วาดมันดาราต่อด้วยความตั้งใจค่ะ ^^ ” คุณจิตรลดา (เจี๊ยบ) อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว + + + + + บทเรียนในหลักสูตร #ห้องเรียน #พลังแห่งจิต รุ่นที่ ๖ กึ่งออนไลน์ www.dhammaliterary.org    

รวมบทเรียน พลังแห่งจิต กึ่งออนไลน์ รุ่นที่ ๖ (๑)

    ครูโอเล่คะ 14 กพ. – 14 มีค. 2560 จะเป็นวันเวลาที่มีความหมายมากที่สุดช่วงนึง ของชีวิตเลยค่ะ โชคดีของการมีเวลา ถึงแม้ว่าจะเรียกสวยๆว่าพักร้อน หรือจะเรียกจริงๆ คือ ว่างงาน แต่มันกลับเป็น ความว่างจากงาน ที่มีความหมายมากค่ะ การได้มาเรียนที่ “ห้องเรียน พลังแห่งจิต” ถึงแม้ว่าเราจะเรียนด้วยการอบรมกึ่งออนไลน์ มันมีทั้งความสงสัย ได้คิด และ ได้ใช้เวลา มาทบทวนความคิด และสิ่งที่อยู่ในใจ เรื่องราวต่างๆมันอยู่ในลิ้นชัก ในความทรงจำ เวลาที่ได้ทำแบบฝึกหัด และ แลกเปลี่ยนกับครู มันทำให้เราได้คิด และ คิดได้ว่า เสียงในใจ เรื่องราวในใจ มันสำคัญมาก การรักตัวเองอย่างถูกวิธี นอกจากเราจะเห็นคุณค่า เห็นพลังในตัวเองแล้ว เราจะรักและเข้าใจคนอื่น เข้าใจโลกใบนี้ ในมุมที่ชัดขึ้นด้วย ขอบคุณครู ที่ลงลึก ช่วยคลายปม เปิดกะโหลก สิ่งที่เรากำลังรู้สึก หรือ แม้แต่ลืมไปแล้ว มีความสุขมากค่ะ ที่ได้เรียนคอร์สนี้… Continue reading รวมบทเรียน พลังแห่งจิต กึ่งออนไลน์ รุ่นที่ ๖ (๑)

บทเรียน “เขียนภาวนา” ในห้องสองวัน (รอบสอง มีนาคม)

      บันทึกระลึกทบทวนบทเรียนจาก “เขียนภาวนา” ในหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ ๑๙ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๐   ตามไฟล์ภาพ ดังนี้ และอ่านเพิ่มเติมได้ที่อัลบั้มรูป        

บทเรียน “เขียนภาวนา” ในห้องสองวัน (รอบแรก มีนาคม)

      บันทึกระลึกทบทวนบทเรียนจาก “เขียนภาวนา” ในหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ ๑๘ เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๐   ตามไฟล์ภาพ ดังนี้ และอ่านเพิ่มเติมได้ที่อัลบั้มรูป        

๔ ข้อคิด “ทำใจ” จากเมฆ (ตอนสอง)

      ๔ ข้อคิด “ทำใจ” จากเมฆ (ตอนที่สอง) บทความตอนที่แล้วนั้น ได้ยกข้อคิดที่เราสามารถเรียนรู้จากเมฆ เพื่อ “ทำใจ” หรือแนะนำการทำใจ แก่ตนเองและผู้อื่น ซึ่งสองข้อคิดแรกนั้นคือ “หัวใจหม่นหมองเป็นสิ่งชั่วคราว” กับ “การร้องไห้และความเสียใจมิใช่ความอ่อนแอ” แต่เป็นจุดเริ่มต้นของฟ้าหลังฝน . การ “ทำใจ” นั้นมีสองรูปแบบ แบบหนึ่งคือ “การยอมรับ” ในสิ่งที่เกิดขึ้นตามที่เป็นจริง เราสามารถทำอะไรได้มากน้อยเท่าใด อะไรที่เราทำไม่ได้ การยอมรับนั้นคือการปลดความคาดหวังที่เราแบกรับไว้ จนทำให้เศร้าเสียใจและทำร้ายตนเอง . แบบที่สองคือ “การปรับปรุง” ในเมื่อเราแก้ไขคนอื่นไม่ได้ จัดการสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้ ก็เหลือเพียงสิ่งใกล้ตัวที่ควรปรับปรุง นั่นคือ ตัวเรา แก้ไขความคิดที่ทำร้ายตัวเอง ดูแลความรู้สึกในใจ ปรับเปลี่ยนการกระทำที่สร้างปัญหา ปรับมุมมองที่ทำให้เราคาดหวังหรือเป็นทุกข์กับสิ่งนั้นๆ . เพราะสิ่งภายนอกตัว เราไม่อาจเข้าไปจัดการให้เป็นไปตามความ “คาดหวัง” ได้หมดสิ้น แม้ “คาดหมาย” ว่าอยากให้เป็นอย่างไรหรือควรเป็นอย่างไร นั่นเพียงมุมมองในหัวใจเราเท่านั้น คนเราทุกข์กับเหตุการณ์ข้างนอกแค่ส่วนหนึ่ง แต่ทุกข์เพราะใจตนเองและมุมมองตนมากกว่า ดังนั้นการทำที่ “ใจ”… Continue reading ๔ ข้อคิด “ทำใจ” จากเมฆ (ตอนสอง)