รวมบทเรียน “เขียนภาวนา” ๒๕๖๐ (๑)

  รวมบทเรียน “เขียนภาวนา” หลักสูตร #เขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ ๑๘ (ชุดแรก)   “ทำให้ได้ใคร่ครวญ และทำให้ได้เรียนรู้ว่าต้องฝนทั่งให้เป็นเข็มให้ได้จริง จากที่ผ่านมาพยายามพาใจกายไปเรียนรู้ แต่ก็ไม่ต่อเนื่องทำให้หยุดแล้วหายไป ในหลายวิธีการ แต่ครั้งนี้วิธีการเรียนรู้จิต “การเขียนภาวนา” ทำให้ได้รู้จัก “จิต” ลึกซึ้งจริงๆ และที่สำคัญได้ทบทวนดูตนอีกครั้ง หลังการเขียน การฝึกเช่นนี้ คล้ายกับการกระเทาะเมล็ดพันธุ์ออกจากเปลือกที่ห่อหุ้มไว้ได้ดีทีเดียวค่ะ” / คุณพรทิพภา (ทิพย์) อาชีพ นักวิชาการอิสระ : : : “เมื่อไขรหัสออกมา รู้สึกประหลาดใจปนดีใจ เมื่อเขียนเสร็จใจโล่งขึ้น ความรู้สึกที่มีต่อส่วนที่ปิดกั้นคือ มันเป็นธรรมชาติของชีวิต ที่เราทำให้มันซับซ้อนมานาน …เริ่มเขียนภาวนา คิดถึงเรื่องที่ผ่านมา เห็นว่าตัวเอง ทำได้บ้าง ผิดบ้าง แต่ใจก็ถอยห่างความสมบูรณ์ หากแต่ก็ไม่ได้ปล่อยปละละเลย ยิ่งเขียน ยิ่งผ่อนปรน ยิ่งเห็นความธรรมดา แต่ก็รู้สึกอยากที่จะอยู่อย่างให้มีการภาวนาในวิถีชีวิตจริงๆ การพูดความจริงกับตัวเอง มีความหมาย ดังเช่นการยอมรับความผิด แต่ไม่ใช่อารมณ์ตำหนิ บางทีความดีร้าย ความกลัว ความเจ็บปวด… Continue reading รวมบทเรียน “เขียนภาวนา” ๒๕๖๐ (๑)

ฉันพลัดพรากเพื่อเรียนรู้ | เขียนภาวนา บันทึกผู้เรียน

  อ่านบันทึก เขียนภาวนา หัวข้อ “พลัดพรากและไม่ยั่งยืน” จากคุณเมย์ ผ่านหลักสูตร “เขียนเปลี่ยนชีวิต” รุ่นที่ ๑๙ โดยครูโอเล่ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ www.dhammaliterary.org : : : ดนตรีประกอบ Album Moonlight Valley โดย Bandari    

7 วิธีเลิกฝันกลางวัน แล้วผลักดันชีวิต (ตอนที่สอง)

      7 วิธีเลิกฝันกลางวัน แล้วผลักดันชีวิต (ตอนที่สอง) บ่อยครั้งที่เราคิดว่า เวลามีไม่พอ หรือ ความสามารถมีไม่พอ แต่สิ่งที่จำกัดเราจริงๆ ก็มิใช่เวลาหรือความสามารถแต่เป็นความคิดเหล่านี้ ไม่มีใครในโลกนี้ที่มีเวลามากกว่าเรา ต่อให้เป็นยาจกหรือเศรษฐี และก็ไม่มีใครสามารถมากไปกว่าเรา มีเพียงแต่ผู้ที่ฝึกฝนมากในด้านใดมากกว่าเราเท่านั้น . การที่เราจำกัดตัวเองอยู่ด้วยความคิดและการใช้ชีวิตนั้น ส่งผลให้เราฝันกลางวันถึงความอยากได้ อยากเป็น และกลุ้มกังวลใจ มิว่าฝันกลางวันในความคิดหรือด้วยการอยู่อย่างไร้จุดหมาย เพราะการที่เราจำกัดตัวเองไว้นั้นก็ทำให้ใจเรามีรูรั่ว รู้สึกดีไม่พอหรือมีไม่พอ ด้วยเราไม่อาจนำศักยภาพในตัวเราออกมาใช้ได้เต็มที่และตกร่องเดิมๆ ของตนอย่างเหนื่อยหน่าย . ชีวิตมิเคยกักขังใครไว้เลย มีแต่เราเองที่ขังตนไว้ ใครเล่าจะปลดพันธนาการให้เราได้ หากเราไม่ก้าวออกอย่างเห็นคุณค่าในชีวิต ด้วยตนเอง . ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำให้เราเลิกฝันกลางวัน หรือเลิกใช้ชีวิตอย่างเลื่อนลอยแล้วผลักดันตนเองสู่สิ่งที่ควรค่า โดยต่อเนื่องจากตอนที่ผ่านมาอีก 2 ข้อ หากผู้อ่านคนใดมีความคิดเห็นหรือคำแนะนำอื่นอันเป็นประโยชน์ต่อเรื่องนี้ก็สามารถแลกเปลี่ยนบอกได้ที่ช่องความคิดเห็น . 4 เรามีชีวิตอยู่ได้เพียงวันนี้เท่านั้น : เมื่อปล่อยวันเวลาให้ล่วงเลย ชีวิตก็เลื่อนลอย แล้วความสามารถหรือโอกาสที่มีก็ร่วงโรย สาเหตุหนึ่งคือการไม่ตระหนักเราทุกคนมีเวลาเท่ากัน คือมีวันนี้เท่านั้น . เพราะเมื่อวานนี้ก็ได้ล่วงลับไปแล้ว วันพรุ่งก็ยังมาไม่ถึง ทุกคนมีเวลาอันมีค่าแค่เวลาเดียว คือตอนนี้ในวันนี้ .… Continue reading 7 วิธีเลิกฝันกลางวัน แล้วผลักดันชีวิต (ตอนที่สอง)

“มีความอยากเกิดขึ้นมากมายในใจฉัน” | เขียนภาวนา บันทึกผู้เรียน

  อ่านบันทึกผู้เรียน การอบรม เขียนภาวนา หลักสูตรเขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ ๑๙ จากคุณวันเพ็ญ อ่านและสอนโดย ครูโอเล่ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ www.dhammaliterary.org : : : ดนตรีประกอบ “Melody Of The Night” โดย Jin Shin    

ขอบคุณทุกสิ่งที่ทำให้เรามาพบกัน…ภาวนา | เขียนภาวนา บันทึกผู้เรียน

  อ่านบันทึกผู้เรียน หัวข้อ “ภาวนา” จากคุณอัปสร (ขวัญ) ในการอบรม “เขียนภาวนา” หลักสูตรเขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ ๑๘ โดยครูโอเล่ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ www.dhammaliterary.org : : : ดนตรีประกอบ “Melody Of The Night” โดย Jin Shin    

“ฉันตัวเล็ก แต่ภายในมีผู้ชายคนหนึ่งหลบซ่อนอยู่” | เขียนภาวนา บันทึกผู้เรียน

    อ่านบันทึก “ความอ่อนน้อม” จากคุณวรวิทย์ ผู้เรียนคอร์ส “เขียนภาวนา” ในหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ ๑๙ โดยครูโอเล่ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ www.dhammaliterary.org : : : ดนตรีประกอบ “Melody Of The Night” โดย Jin Shin  

7 วิธีเลิกฝันกลางวัน แล้วผลักดันชีวิต (ตอนแรก)

      7 วิธีเลิกฝันกลางวัน แล้วผลักดันชีวิต (ตอนแรก) ชีวิตทุกคนมีคุณค่าที่ได้เกิดมา แต่บางคราบางช่วงเวลากลับเลื่อนลอยและลับเลือนอย่างว่างเปล่า เมื่อเราใช้เวลาอย่างสูญค่า หรือบางขณะยามใจรู้สึกว่างไร้ มีบางสิ่งที่หวังอยากได้ หวังให้เป็น หรือคิดคะนึงหวนหา ฝันกลางวันยามตื่นในใจ แต่กลับมิอาจเปลี่ยนแปลงหรือทำสิ่งใดให้เกิดขึ้นในปัจจุบัน . เราทุกคนแม้แต่คนที่สุขสมหวังหรือผิดพลาดต่างก็มีความฝันกลางวันกันไม่มากก็น้อย ฝันกลางวันคือความคิดความหวังชั่วขณะในใจ และความฟุ้งซ่านกังวลใจต่างๆ อาจเป็นมโนภาพจินตนาการหรือความคิดเช่นว่า หากเป็นเช่นนั้นก็จะดีไม่น้อย หรือ ถ้าไม่…แล้วก็คง… . การฝันกลางวันหรือจะฝันกลางคืนไม่ใช่สิ่งเสียหาย แต่น่าเสียดายหากเราจะเพียงฝัน แต่มิได้ทำสิ่งใดให้สมคุณค่าเวลาที่ฝันถึง หรือปล่อยให้ความกลัวฉุดรั้งเราจากความสุขและคุณค่าที่เราพึงได้รับ . บทความนี้จะชวนเราแปรเปลี่ยนช่วงเวลาและพลังงานฝันกลางวันมาเป็นแรงผลักดันชีวิต ดังคำแนะนำทั้งเจ็ดข้อ หากคนใดมีข้อคิดหรือวิธีการแลกเปลี่ยนกันเพิ่มเติมก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้ตามช่องทางที่สะดวก . 1 หยิบแก่นแท้ในฝัน แล้วนำมันมาใช้ : ทุกความฝันกลางวันต่างเป็นความฟุ้งซ่านของจิตที่หวังชดเชยหรือเติมเต็มช่องว่างในหัวใจ ช่องว่างนั้นก็คือความต้องการที่ยังขาดการดูแล เช่น หากบางคนฝันถึงการได้เดินบนพรมของนางแบบ มีกล้องมากมายจับจ้อง ประกายแฟลสแวบวับ ความต้องการที่อยู่ลึกในใจก็คงเป็นการได้ถูกแลเห็นจากคนรอบข้าง ต้องการความชื่นชม และการนำเสน่ห์เฉพาะตัวของตนออกมาใช้ หากเราเข้าใจว่าในฝันกลางวันที่ฉายแวบในห้วงคำนึงสื่อถึงความต้องการใด เราก็เพียงแปรเปลี่ยนให้ความต้องการนั้นเป็นเป้าหมายที่เราจะดูแลในแต่ละวัน เราอาจไม่มีโอกาสเดินบนพรมนางแบบตอนนี้ แต่เราก็สามารถดูแลการแต่งกายตนให้ดี ใช้ความสามารถที่ตนมีทำสิ่งต่างๆ รอบตัวให้สำเร็จ อยู่กับคนที่เห็นคุณค่าในตัวเรา และทำสิ่งที่น่าชื่นชมอยู่เสมอ… Continue reading 7 วิธีเลิกฝันกลางวัน แล้วผลักดันชีวิต (ตอนแรก)

ความอยากและความยึด | เขียนภาวนา

  การเขียนภาวนา สลับกับการบรรยายในหัวข้อ “ความอยากและความยึด” โดยครูโอล่ ส่วนหนึ่งของเนื้อหาในการอบรม “เขียนภาวนา” หลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต สถาบันธรรมวรรณศิลป์ www.dhammaliterary.org/      

ความกลัวกับการเขียน | เขียนภาวนา

  เรียนรู้ก้าวข้ามความกลัวผ่านการเขียน บรรยายไปพร้อมเขียนภาวนา โดยครูโอเล่ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ส่วนหนึ่งของหลักสูตร “เขียนเปลี่ยนชีวิต” www.dhammaliterary.org        

การเริ่มต้นคือทุกสิ่ง : เขียนภาวนา

  เขียนภาวนาและบรรยายหัวข้อ “การเริ่มต้นคือทุกสิ่ง” โดย ครูโอเล่ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ เพื่อประกอบการสอน “เขียนภาวนา” ในหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต และเผยแพร่สำหรับบุคคลที่สนใจ โดยครั้งนี้ได้เขียนภาวนาในเวลาตามวิดีโอและเพิ่มเติมคำบรรยายในภายหลัง . เว็บไซต์สถาบันธรรมวรรณศิลป์ www.dhammaliterary.org