ร่างกายเป็นโรค… ฉันเป็นโรค…

  มิใช่ไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือภัยจากธรรมชาติ ที่พึงเห็นว่าเป็นโรค แต่ร่างกายนี้เองที่พึงเห็นเป็นโรค เราไม่ค่อยกล่าวกันว่าไวรัสเป็นโรค เชื้อรา แบคทีเรีย ฯ เป็นโรค ในการพูดสื่อสารทั่วไป แต่เรามักจะพูดกันว่า ฉันเป็นโรค… ร่างกายเป็นโรค… นั่นก็เป็นปริศนาธรรมให้ทายกันในชีวิตประจำวันแล้ว เพราะไวรัสไม่ใช่โรคในทางธรรมะ แต่ร่างกายเรานี้เองที่เป็นโรค และการยึดมั่นในตัวตนฉันนี่เองที่เป็นโรค… . ความไม่มีโรค สำหรับคนทั่วไป คือการมีร่างกายที่แข็งแรงและไม่เจ็บป่วย แต่ในทางธรรมะหรือความเป็นจริงแล้ว ความไม่มีโรค คือการพ้นจากอำนาจของร่างกาย ซึ่งเป็นโรคอย่างแท้จริง เหตุใดพุทธศาสนาจึงกล่าวว่า ร่างกายคือโรค ลองพิจารณาจากคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่ตรัสว่า . “กายนี้มีรูป (เป็นวัตถุ) เป็นที่ประชุมมหาภูต (ธาตุ) ทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องอบและขัดสีกันเป็นนิจ มีความแตกกระจัดกระจายเป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตน . “เมื่อท่านพิจารณาเห็นกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์… Continue reading ร่างกายเป็นโรค… ฉันเป็นโรค…

ตั้งคำถามเพื่อสอนตัวเราและเด็กๆ

  ตั้งคำถาม เพื่อสอนตัวเราและเด็กๆ เนื้อหาต่อยอดจากการอบรม “ห้องเรียน วิถีครู” รุ่นที่ 6   คัมภีร์สอนเด็กที่ดีที่สุดนั้น ก็คือการกลับมาทบทวนประสบการณ์วัยเด็กของตัวเอง เราในวัยเด็กรู้ว่าการตั้งคำถามแบบใดของผู้ใหญ่จึงจะเป็นประโยชน์กับเขา รวมทั้งท่าทีแบบใดและวิธีการใดบ้างที่จะช่วยให้ผู้ใหญ่เกื้อกูลการเรียนรู้ของเด็กได้ ตัวเราในวัยเด็กนั้นมีคำตอบอยู่แล้ว ผ่านประสบการณ์ทั้งสุขและทุกข์ในห้องเรียนและครอบครัว หากต้องการตั้งคำถามที่ทรงพลังกับเด็ก คุณครูต้องกลับมาถามตนเองก่อน เช่น ประสบการณ์วัยเด็กที่ผ่านมาสอนอะไรฉันบ้างในฐานะครู ? การที่ฉันในวัยเด็กจะเปิดใจกล้าพูดกล้าตอบกับผู้ใหญ่คนใด ต้องอาศัยเหตุปัจจัยใดบ้าง ? อย่าเพียงถามว่า “จะถามคำถามอย่างไรให้เด็กกระตือรือร้นที่จะตอบ” แต่ต้องกลับมาถามตนเองว่า ฉันมีสิ่งที่ดีอะไรที่จะทำให้เด็กสนใจอยากเรียนรู้และพูดคุยกับฉัน ? ฉันจะสร้างพื้นที่ที่ทำให้เด็กรู้สึกวางใจในและมีสมาธิในการทบทวนสิ่งต่างๆ ด้วยกันอย่างไร ? …และควรถามว่า ตอนฉันเป็นเด็ก ฉันก็อยากให้ผู้ใหญ่ พ่อแม่ และคุณครู ถามอะไรกับฉันบ้าง ? ก่อนที่เราจะถามคำถามยากๆ หรือซับซ้อนให้กับเด็ก เราควรเริ่มต้นจากคำถามง่ายๆ ที่จริงใจและทำให้เขารู้สึกวางใจว่า ครูรับฟังทุกคำตอบของเขา ไม่ใช่เฉพาะคำตอบที่ถูกต้องตามใจครูเท่านั้น เพราะมิเช่นนั้นแล้ว เขาจะไม่กล้าคิดและไม่กล้าตอบ เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีหรือไม่ฉลาดพอที่จะตอบได้ ซึ่งบั่นทอนศักยภาพการเรียนรู้ของเขาอย่างมหาศาล การสอนให้เด็กตอบคำถาม ต้องควบคู่ไปด้วยกับการสร้างพื้นที่ในการเรียนรู้ และกระตุ้นให้เด็กเห็นความสำคัญของการตั้งคำถาม หากเราสอนแบบเดิมๆ ที่เน้นให้เด็กได้คำตอบตามตำรา หลักการ และความเห็นของครู… Continue reading ตั้งคำถามเพื่อสอนตัวเราและเด็กๆ

เปลี่ยนคำถาม เปลี่ยนชีวิต

  “เปลี่ยนคำถาม เปลี่ยนชีวิต” เนื้อหาต่อยอดจากการอบรม “ห้องเรียน วิถีครู” รุ่นที่ 6   การตั้งคำถามต่อตนเองเป็นการกำหนดวิธีคิดและการตัดสินใจ ซึ่งจะส่งผลไปยังท่าทีที่มีต่อสถานการณ์ในชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม จิตใจนั้นมีการตั้งคำถามอยู่แล้วเป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะเมื่อกำลังเผชิญกับจุดหวั่นไหว – ขอบรอยต่อระหว่างพื้นที่ปลอดภัยและพื้นที่เสี่ยง รวมถึงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตในช่วงวัยต่างๆ คำถามที่ดีมักทำให้เกิดการสะกิดใจให้ฉุกคิดและตัดสินใจอย่างเหมาะสม ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การต่อยอด และการเติบโตไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะคำถามเป็นเครื่องมือของธรรมชาติที่มอบให้มนุษย์ไว้ใช้รับมือกับความเปลี่ยนแปลง เป็นเครื่องมือในการแสวงความรู้และสร้างมิตรแท้ที่เติบโตไปด้วยกัน มิว่าเขาจะอยู่ในฐานะนักเรียน เพื่อน หรือกระทั่งตัวเราเองก็ตาม ขณะเดียวกันคำถามที่ไม่ดีมักเป็นการตอกย้ำและกักขังเราไว้ในวิธีคิดและวิธีการแก้ปัญหาที่วกวนไม่สิ้นสุด โดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความสุข และการบรรลุจุดหมายเท่าที่ควร การถามอย่างตอกย้ำเช่นว่า “ทำไมจึงเป็นแบบนี้” “ทำไมจึงเป็นแบบนั้น” ซึ่งทำให้เรากล่าวโทษสิ่งต่างๆ มิว่าตนเองหรือผู้อื่น แต่ไม่ทำให้เห็นหนทางในการก้าวออกจากความมืดมนตรงหน้านั้นเลย มันเป็นคำถามที่ไร้ประโยชน์เพราะแค่ทำให้เราโกรธ เศร้าหมอง และอยากเอาชนะ แต่ไม่เกิดปัญญา การโฟกัสไปที่ปัญหาและถามซ้ำๆ ไม่สิ้นสุด เช่น “ทำอย่างไรจึงจะแก้ไขเรื่องนี้ได้” “ทำอย่างไรจึงจะทำได้สำเร็จ” อาจไม่ใช่คำถามที่เหมาะสม หากเมื่อถามแล้วคำตอบก็ยังเวียนวนในแบบเดิม และไม่ช่วยให้เกิดมุมมองที่นำไปสู่การพัฒนาให้ดีขึ้น การตั้งคำถามโดยโฟกัสไปยังปัญหามากเกินไปก็เปรียบเหมือนการอยู่ในบ้านที่ไฟกำลังลุกไหม้ แต่มัวจ้องไปยังกองเพลิง แทนที่จะมองหาทางออก ลองกลับมาตั้งคำถามใหม่ว่า ตอนนี้ยังมีโอกาสอย่างไร ? ประสบการณ์นี้สอนอะไรกับฉันบ้าง ?… Continue reading เปลี่ยนคำถาม เปลี่ยนชีวิต

หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’ (ตอน 2)

  หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’ (ตอน 2) หนึ่งในเนื้อหาช่วงท้ายของกิจกรรม “เขียน ปล่อย วาง” ครั้งที่ 5 . ความสุข และ คุณค่าของชีวิต มีมากมายหลายรูปแบบ เปรียบดังคำตอบของชีวิตที่เปิดกว้าง ไม่ได้มีใครจำกัดว่าจะต้องใช้คำตอบใดเป็นเพียงคำตอบเดียวของชีวิต ยกเว้นจิตที่มีความยึดมั่นเท่านั้นเอง การยึดมั่นในคำตอบใดคำตอบหนึ่งโดยไม่ได้พิจารณาให้ดี อาจทำให้เราพลาดโอกาสเรียนรู้ว่าจริงๆ แล้วชีวิตนั้นกว้างใหญ่กว่าความคิดของตนมากเพียงใด ‘การปล่อยวาง’ แง่หนึ่งคือการลอง ‘เปิดกว้าง’ กับตนเอง ฉันไม่จำเป็นต้องทำแบบนี้แบบเดียวก็ได้ … ฉันลองทำแบบที่ไม่เคยชินบ้างก็ได้ … ฉันไม่จำเป็นต้องคิดแบบนี้ก็ได้ … ฉันไม่จำเป็นต้องขังความคิดด้วยการย้ำคิดแบบเดิมๆ … ฉันไม่จำเป็นต้องสุขด้วยวิธีนี้ก็ได้ … มีความสุขอีกหลายแบบรอให้ฉันค้นหา การที่เราเคยชินที่จะยึดติดกับความสุขจากบางสิ่งบางอย่าง ก็คือการยึด ‘สุข’ ในอีกรูปแบบหนึ่ง ทำให้สุดท้ายเราก็จะเป็นทุกข์เพราะความสุขแบบเดิมๆ ที่เรายึดติดนั้นเอง เช่นความสุขจากการกิน การดื่ม การท่องเที่ยว การจับจ่ายซื้อของ การได้รับความรักจากคนอื่น การได้ทำงานสำเร็จ ฯลฯ ความสุขเหล่านี้ในตัวมันเองอาจไม่ใช่สิ่งเลวร้าย แต่เมื่อยึดถือเป็นคำตอบเดียวหรือคำตอบสำคัญของชีวิตแล้ว ผลเสียจากการกระทำหรือใส่ใจในสิ่งนั้นมากเกินไปก็จะเกิดขึ้น… Continue reading หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’ (ตอน 2)

หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’

  หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’ หนึ่งในเนื้อหาช่วงท้ายของกิจกรรม “เขียน ปล่อย วาง” ครั้งที่ 5   สุข และ ทุกข์ ต่างก็เป็นเหรียญสองด้านของสิ่งเดียวกัน การปรารถนาในสุขก็ต้องยอมรับอีกด้านของมัน นั่นก็คือความทุกข์ แท้จริงความสุขก็เป็นเพียงความทุกข์ในรูปแบบที่เราทนกับมันได้มากกว่า มีเปลือกที่ดูสวยงาม หรือเราพอใจกับมันได้มากกว่าความทุกข์ในรูปแบบอื่น การใฝ่หาในสุขโดยหวังว่าจะไม่มีทุกข์นั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะแม้แต่ความสุขที่ประเสริฐเพียงใด ก็มิพ้นไปจากการเสื่อมสลาย ความไม่สมบูรณ์แบบ และการไม่อาจที่ยึดเป็นของๆ ตนได้อย่างแท้จริง การยึดในความสุข ก็จะพาให้ชีวิตต้องดิ้นรนตามหาความสุขที่มากกว่า หรืออย่างน้อยๆ ก็เท่ากัน นั่นก็เป็นทุกข์ คือมีภาระ ความยากลำบาก และความไม่พอใจ เมื่อได้น้อยกว่าที่เคย หรือน้อยกว่าที่วาดหวังไว้ จิตใจก็เป็นทุกข์เช่นกัน เมื่อยึดสุขตามใจอยาก เจอสิ่งใดที่ไม่ได้ให้ความสุขอย่างที่อยากได้ มันก็เป็นทุกข์เพราะความไม่พอใจ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตหรือที่เรียกว่าปัญหา อาจมิใช่ปัญหาโดยแท้จริงก็ได้ เพียงแค่มันเป็นสถานการณ์ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้ทำให้เราเกิดความสุขอย่างที่อยากได้เท่านั้นเอง เราจึงมองมันในทางลบ มากกว่ามองไปตามความจริง การฝึกภาวนาในทางพุทธศาสนา จึงให้เผชิญหน้าและก้าวข้ามไปจากทั้งสองขั้ว เพราะมิว่าจะยึดในสุขหรือทุกข์ ชีวิตเราก็ยังต้องเวียนว่ายในท้องทะเล ณ ที่ซึ่งจิตใจเราจะถูกคลื่นโยนขึ้นลงอย่างไม่จบสิ้น ความสุขยิ่ง ที่กล่าวถึงในพระพุทธศาสนา… Continue reading หากยึด ‘สุข’ ก็ไม่พ้น ‘ทุกข์’

จงมีตนเองและธรรมเป็นที่พึ่ง

  จงมีตนเองและธรรมเป็นที่พึ่ง   “สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้วปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด” *** . เหตุใดพระองค์จึงตรัสเช่นนี้ เพราะสิ่งอื่นทั้งหลายในโลกไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้และยั่งยืน หากยึดมั่นเป็นที่พึ่งแล้วก็เหมือนจับที่เกาะเกี่ยวอันไม่มั่นคง จิตใจก็หวั่นไหวง่าย แม้เป็นทรัพย์ก็ดี ฐานะชื่อเสียงก็ดี หรือกระทั่งสิ่งที่เป็นคุณค่าภายในตัวเราก็ไม่ยั่งยืน ต้องพลัดพรากจากไปเช่นกัน ดังที่ท่านทรงตรัสถามพระอานนท์ก่อนหน้าว่า . “สารีบุตรพาเอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ปรินิพพานไปด้วยหรือ” *** . ความดีที่เรารักษาไว้ หลักการอันคร่ำเคร่ง คุณสมบัติน้อยใหญ่ สมาธิอันเป็นเลิศ ความเก่ง จนถึงปัญญาของตัวเรา อาจเป็นคุณค่าที่ทำให้เราพอใจและรักตัวเองอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง แม้เป็นคุณค่าที่ทำให้ยินดีและเป็นสุขแท้มากกว่าทรัพย์นอกตัวก็จริงอยู่ แต่ท้ายที่สุดเราก็นำเอาไปด้วยไม่ได้เมื่อถึงเวลาต้องตายลง หรือแม้วันเวลาหนึ่งเมื่อร่างกายทรุดโทรมลง สิ่งเหล่านั้นก็ย่อมเลือนหายไป . เมื่อเรายึดเอาคุณค่าของตนเองไว้ที่สิ่งนอกตัวและในความเป็นตัวตนอันไม่ยั่งยืน เมื่อนั้นก็ยังมีความทุกข์จากการพลัดพรากและเสื่อมถอยของสิ่งเหล่านั้นอยู่ ไม่วันหนึ่งก็วันใด แม้เรายังมีสิ่งเหล่านั้นอยู่ก็ยังมีทุกข์จากการต้องเปรียบเทียบกับผู้อื่น ต้องหวนแหนรักษาไว้… Continue reading จงมีตนเองและธรรมเป็นที่พึ่ง

ร่มเย็น เป็นสุข รับปีใหม่(ไทย)

  “ร่มเย็น เป็นสุข รับปีใหม่(ไทย) ด้วยน้ำใจ-น้ำจิต คิดเกื้อหนุน ด้วยน้ำพัก-น้ำแรง ที่สมดุล ด้วยน้ำคำ เป็นคุณ ให้แก่กัน สรงน้ำพระ ส่งใจ กลับในตัว ให้เย็นทั่ว กายใจ ไม่หุนหัน อาบน้ำใคร อาบใจ ในปัจจุบัน ย้อนมองขัน(ธ์) ดูใจ อยู่ง่ายงาม ฯ”   บอกเล่าจากผู้เขียน : ผู้ใดมีน้ำใจและน้ำจิต คิดเกื้อหนุน แบ่งปัน ทำทาน หวังส่งเสริมผู้อื่น ฯ ผู้นั้นย่อมมีใจที่สงบเย็น เพราะจิตที่คิดให้เป็นจิตที่สบายกว่าจิตที่คิดจะรับ จิตที่หวังได้มาได้มีย่อมรุ่มร้อนกระวนกระวาย จิตที่หวังให้จะผ่อนคลายและสบายใจ ยกเว้นเสียว่าจะคิดให้เพื่อหวังการตอบแทน เช่นนั้นแล้วก็จะเป็นความเย็นเร้นความร้อน แอบกระวนกระวายไม่เป็นสุข มิว่าผลตอบแทนที่หวังนั้น จะได้รับหรือจะมิได้รับในท้ายที่สุดก็ตาม น้ำพัก และ น้ำแรง ต้องสมดุล จึงจะเป็น “สัมมาวายามะ” แปลว่ามีความเพียรที่ถูกต้อง หากพักผ่อนและทำใจผ่อนคลายเกินไปจนหย่อนยาน การงานต่างๆ ย่อมไม่เกิดผล เช่นนั้นแล้วก็จะนำมาสู่ความทุกข์ร้อนใจไม่เป็นสุขในภายหน้า แต่หากน้ำแรงมีมากเกินไปมิรู้จักหยุดพักผ่อน เช่นนั้นแล้วจิตใจก็จะเต็มไปด้วยความรุ่มร้อนเพราะความเครียด… Continue reading ร่มเย็น เป็นสุข รับปีใหม่(ไทย)

แผ่เมตตาและขอขมา ล้างพลังลบรับขวัญปีใหม่

  [ แผ่เมตตาและขอขมา ล้างพลังลบรับขวัญปีใหม่ ] “การแผ่เมตตา” คือการให้ของขวัญให้แก่ตนเองและผู้อื่น คือการเผื่อแผ่พลังของจิตที่เป็นกุศล ขยายแผ่กว้างออกมาจากภายในจิตใจของตนเอง การแผ่เมตตามิใช่เพียงความตั้งใจดีในการให้แก่ผู้อื่น แต่เป็นการเปิดพื้นที่ให้ความเมตตาในตนเองได้เติบโตงอกเงยออกมา พ้นจากกองอารมณ์และความคิดลบต่างๆ ที่สะสมมาตลอดปีเก่าและก่อนหน้านั้น เพื่อทำให้จิตใจของเรานั้นมีความสุขและพร้อมเปิดรับสิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิต การแผ่เมตตาจะทำได้อย่างดีเยี่ยม เมื่อเราได้เมตตาตนเองก่อน ด้วยการทำสิ่งที่ดีให้กับตนเอง เช่นการทำสมาธิภาวนา การเรียนรู้พัฒนาจิตใจ หรือกิจกรรมที่ทำแล้วได้รักตนเองมากขึ้น แล้วเราจึงแผ่เมตตานั้นออกมาจากจิตใจของตนเองได้อย่างแท้จริง หากไม่ได้เมตตาตนเองก่อนแล้ว ก็จะเหมือนกับการเทน้ำชาแบ่งคนอื่นจากกาตนเอง โดยที่ในกานั้นมีน้ำเพียงน้อยนิดหรือไม่มีอยู่เลย การเติมเต็มพลังงานที่ดีและทำสิ่งที่เป็นกุศลต่อตนเอง ก่อนจะแบ่งปันสิ่งที่ดีออกไปจึงเป็นเรื่องสำคัญและหลีกหนีไม่ได้สำหรับคนที่ต้องการช่วยเหลือคนอื่น หรือแม้ว่าต้องการทำบุญเพื่อสะเดาะห์เคราะห์รับโชคลาภหรือเปิดทางให้สิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิต เพื่อให้จักรวาลเมตตา ก็มิอาจเลี่ยงที่จะต้องเมตตาตัวเองก่อน การแผ่เมตตาให้กับตนเองและผู้อื่น จึงจะเป็นพลังงานดึงดูดความเมตตาให้เข้ามาในชีวิต หากเราไม่ได้เมตตาตนเองและคนอื่นแล้ว เราจะหวังให้จักรวาลเมตตาเราได้อย่างไร ความดีจะดึงดูดความดีให้เกาะกลุ่มกันเข้ามาอยู่ร่วมกัน ความเมตตาก็เช่นเดียวกัน เราทุกคนสามารถทำได้ง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีดอกไม้ ธูปเทียน วัตถุมงคล คาถา หรือสถานที่ใดโดยเฉพาะ เพียงใช้เวลาสั้นๆ ไม่กี่นาทีในการมอบความรักให้แก่ตนเองและเผื่อแผ่ความรักให้กว้างใหญ่ หลังจากเราได้ทำสิ่งใดๆ ที่ดีต่อใจของเรา ทำด้วยการเห็นคุณค่าในตน ทำแล้วรักตนเองมากขึ้น แม้ไม่ใช่การสวดมนต์หรือนั่งสมาธิก็ตาม อาจเป็นเพียงการตื่นเช้า การได้อ่านหนังสือที่ดี การได้ทำบุญทำทาน การเข้าอบรม การออกกำลังกาย… Continue reading แผ่เมตตาและขอขมา ล้างพลังลบรับขวัญปีใหม่

7 วิธีการ ลดความเป็น “Perfectionist”ในตัวคุณ

  7 วิธีการ ลดความเป็น “Perfectionist”ในตัวคุณ เรียบเรียงใหม่จากบทความคอลัมน์ ไกด์โลกจิต ตอนที่ 34 โดยครูโอเล่   “Perfectionist” เป็นลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่พยายามทำให้สิ่งต่างๆ หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ใส่ใจ ดีครบถ้วนสมบูรณ์ตามมาตรฐานหรือหลักการที่ยึดถือ ลักษณะพฤติกรรมนี้ไม่ได้เป็นเฉพาะบางบุคคลเท่านั้น แม้บางคนจะมีนิสัยนี้เป็นบุคลิกประจำตัวซึ่งพยายามทำให้ “เป๊ะ” แทบทุกเรื่อง ยึดถือมาตรฐานและความถูกต้องในเรื่องต่างๆ จนเป็นคน “เนี้ยบ” อยู่แล้ว หลายคนที่ไม่ได้มีบุคลิกนิสัยนี้ก็อาจมีบางเรื่องที่จะคาดหวังมากเป็นพิเศษ อ่อนไหวกับประเด็นนั้นๆ มากกว่าเรื่องอื่น วิตกกังวลกับมันบ่อยๆ หรือกำหนดมาตรฐานตั้งเงื่อนไขเอาไว้ เช่น บางคนไม่ต้องการให้คนรอบตัวเก็บความลับหรือปิดบังความจริงกับตนแม้แต่นิดเดียว บางคนจะออกนอกบ้านทีการแต่งหน้าแต่งกายจะทำไปอย่างลวกๆ ไม่ได้ บางคนให้คุณค่ากับงานไม่อยากให้มีข้อตำหนิผิดพลาดแม้แต่นิดเดียว บางคนไม่อยากเห็นการเปรียบเทียบคะแนนและระดับความสามารถกับเพื่อน บางคนมีข้อกำหนดว่าคนรักจะต้องทำแบบนั้นและไม่ทำแบบนี้ บางคนมีข้อชี้วัดชัดเจนว่าคนดีจะต้องเป็นอย่างไรและห้ามทำอะไร ฯ เราต่างมีความเป็น “Perfectionist” ในตัวเองอย่างน้อยในแง่ที่ต้องการให้ตนเองและสิ่งที่ใส่ใจ “ดีพอ” ตามเงื่อนไขและมาตรฐานที่แอบมีอยู่ในจิตใจ และมีมาตรวัด “ความสมบูรณ์แบบ” ในเรื่องที่สำคัญของตนเอง ความใฝ่ในความสมบูรณ์แบบมีอยู่ในตัวเราทุกคน อาจคาดหวังอยากให้มีครอบครัวที่เพอร์เฟค อยากมีอาชีพที่ตอบโจทย์ทุกด้านของชีวิต อยากมีแฟนที่เข้าใจและยอมรับตนทุกๆ อย่าง อยากมีลูกที่อยู่ในโอวาททุกบรรทัด อยากมีเคหาอาศัยที่ไร้ข้อบกพร่อง อยากมีปีใหม่ที่มีความสุขตลอดทั้งปี ฯ การนิยมความสมบูรณ์ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย… Continue reading 7 วิธีการ ลดความเป็น “Perfectionist”ในตัวคุณ

คุณค่าของเธอ ไม่ได้ขึ้นกับความเข้าใจ(ของคนอื่น)

  เมื่อใดที่คนอื่นเข้าใจตัวเราผิดพลาด แล้วทำให้รู้สึกหม่นหมอง เสียกำลังใจ โกรธหงุดหงิด หรือน้อยเนื้อต่ำใจ แสดงว่าใจเรากำลังผูกคุณค่าตนเองไว้ที่มุมมองกับความคิดของผู้อื่น และการได้รับความเข้าใจ จนเป็นทุกข์ การใส่ใจความคิดและความรู้สึกของผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดี แต่หากเราถือสิ่งนี้ไว้มากเกินไปจนไม่มีหลักยึดให้ใจหนักแน่นพอ หัวใจก็จะเป็นลูกบอลที่ถูกยื้อแย่งและส่งไปหาคนนั้นที คนนี้ที มิได้กลับมาหาคุณค่าที่ตนเองอย่างมั่นคง ความสุขทุกข์ก็จะขึ้นอยู่กับผู้อื่น เรากำลังนำภาพที่คนอื่นมองเห็นมาเป็นเนื้อตัวเรา ทั้งที่ความคิดคนผันแปรไม่แน่นอน เมื่อใดอารมณ์ดีความคิดก็เป็นอย่างหนึ่ง เมื่อใดอารมณ์เสียความคิดก็เปลี่ยนแปลง ยามทำถูกใจก็ยกยอชื่นชม ยามขัดใจก็หมิ่นหยามหมางเมิน ตัวเราคือสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ณ ตรงนี้ มิใช่ในดวงตาหรือความคิดใคร หากเราถือตนเองเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งที่คนอื่นมอง ก็เสมือนถือว่าภาพจากเครื่องฉายเป็นของจริง เมื่อใดเขาไม่สนใจไยดีหรือคิดเห็นเป็นอื่น เราก็รู้สึกด้อยค่าประหนึ่งไม่มีตัวตน การถูกเข้าใจผิดมิได้ติดตราประทับไว้ที่ตัวเราแต่เพียงลำพัง คนที่ทำคุณงามความดีหลายคนย่อมเคยผ่านการถูกเข้าใจผิด หรือแม้แต่การถูกประณามหยามเกียรติ ศาสดาของศาสนาต่างๆ ย่อมเคยถูกเข้าใจผิดหรือคิดเห็นในทางลบร้ายจากผู้อื่น ก่อนที่ท่านจะก้าวผ่านด้วยสัจจะ ศรัทธา และปัญญา หากพวกท่านนำคุณค่าจากสายตาผู้อื่นมาเป็นเครื่องชี้วัดตัดสินคุณค่าแล้ว โลกนี้ก็คงไร้ซึ่งศาสนาพยุงความดีของมนุษย์ และไม่มีคำสอนเพื่อการหลุดพ้นจากความทุกข์มาจนถึงทุกวันนี้ คุณค่าของสิ่งใดๆ มีคุณค่าในตัวมันเอง การตีตราให้ราคาจากภายนอกมิใช่สิ่งที่เที่ยงแท้และยั่งยืน เปลี่ยนแปลงได้ตามอารมณ์ สถานการณ์ และปัจจัยมากมาย เราจะเลือกฝากคุณค่าของตัวเองไว้ที่ตาชั่งเหล่านั้นหรือไม่ ถึงอย่างนั้นมิใช่ห้ามเราไม่รับฟังผู้อื่นเลย มุมมองจากผู้อื่นเป็นแง่คิดให้เรารับฟังและเรียนรู้ได้เสมอ แต่ต้องแยกให้ออกระหว่างคุณค่าของสิ่งที่เราเป็นหรือได้ทำ กับความคิดเห็นหรือความเข้าใจจากผู้อื่น สองส่วนนี้ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน สิ่งที่คนอื่นบอกเป็นการ “เสนอแนะ” ความคิดเห็นเป็นสิ่งนอกตัว… Continue reading คุณค่าของเธอ ไม่ได้ขึ้นกับความเข้าใจ(ของคนอื่น)