เมื่อตัวละครเอกรู้ตัว เขาหรือเธอก็หลุดเข้ามาในโลกอันไม่ธรรมดาเสียแล้ว สิ่งสุดท้ายที่จำได้คืออุบัติเหตุ และเขาหรือเธอก็ต้องออกเดินทางตามหาเด็กๆ ทั้งเจ็ดคน ผู้ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของวัยเด็กที่ผ่านมา เหตุใดเขาหรือเธอต้องทำเช่นนั้น สุดท้ายแล้วมันจะนำไปสู่เป้าหมายใด จะได้กลับไปที่โลกแห่งความจริงอีกครั้งหรือไม่ เราจะร่วมเดินทางไปกับตัวละครตนนี้ ผ่านกิจกรรมเกมคอมพิเตอร์ “ตามหาเด็กน้อยภายใน” ทั้งสองภาค ???? เล่นออนไลน์ฟรีบนเว็บไซต์ และสามารถดาวโหลดเพื่อเล่นบนระบบปฏิบัติการ Mac Os และ Window* ???? กิจกรรมเกมเรียนรู้เกี่ยวกับ “เด็กน้อยภายใน” หรือปมจากวัยเด็กและภาวะแฝงความเป็นเด็ก โดยเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต สถาบันธรรมวรรณศิลป์ สำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจและผู้เรียนในคอร์ส “เด็กน้อยภายใน” ผู้เล่นจะได้รู้จักตนเองและได้ทบทวนปมต่างๆ ผ่านเกมนี้ร่วมกับตัวเอกของเรื่อง ???? เหมาะสำหรับผู้ใหญ่ และผู้มีอายุสิบสามปีขึ้นไป หากเป็นเยาวชนควรมีผู้ปกครองให้คำแนะนำและพูดคุยประเด็นต่างๆ ผู้มีอาการซึมเศร้าหรืออาการทางจิตเวชควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ???? เล่นเกมได้นี้ที่ โครงการปัญญ์ สเปซ www.punnspace.com/p/findinginnerchildgame/
Category: ข่าวสาร
อยู่อย่างเล็ก อ่อนน้อมอย่างหนู : สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๓
“ขอบคุณความทุกข์ เพราะความทุกข์เป็นเหมือนน้ำหนักที่กดทับ ผมรู้สึกหนักทุกครั้งที่ทุกข์เกิดเช่นเดียวกับคนธรรมดาทั่วไป แทนที่เราจะแบกมันขึ้นแล้วทำให้ชีวิตยุ่งยาก ผมยอมให้ทุกข์นั้นทับลงมา เพราะมันทำให้เราเล็กลง แล้วทุกข์ที่ถมทับก็ย่อมไหลออกไปเอง พอยิ่งเล็กเรายิ่งถูกทับยาก เมื่อทุกข์เกิด น้ำหนักให้แบกก็ลดน้อย ยิ่งตกเพราะความพลาดพลั้งเราก็ไม่เจ็บเท่าไร เพราะน้ำหนักของตัวตนเป็นเหตุให้แรงตกกระทบมีมากขึ้น . “อยู่อย่างหวังให้ตัวเล็กลง เป็นสุขกว่าวิ่งวุ่นออกไปไขว่คว้าสรรพสิ่งมาเติมเต็ม เป็นชีวิตพึงปรารถนากว่าโด่งดังแต่มิอาจพบสงบใจ . “ผมเคยคิดมาตั้งแต่เด็กว่าจะเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างไร เคยคิดถึงทฤษฏีและใฝ่หาวิธีการอันพิเศษต่างๆ ผ่านทางจินตนาการ หนังสือ การเขียน และโครงการ แต่วันนี้คำตอบหนึ่งที่พบคือการทวนกระแสของจิตใจ เพราะสังคมทั่วไปก็ตกอยู่ภายใต้กระแสเดียวกัน ถ้าเราจะเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมที่ความโลภ โกรธ และหลงเป็นพื้นฐาน เราคงมิอาจทำสำเร็จได้ด้วยการเอาตัวตนที่ใหญ่โตเข้าต่อกร คุณค่าสิ่งดีงามก็เป็นทุกข์แก่ตนและผู้อื่นได้เมื่อหลงมัวเมาในตนเอง เราก็จะเหมือนเหล่าฮีโร่ในหนังฝรั่งที่พยายามช่วยผู้คน แต่ตนเองกลับก่อความเสียหายไปทั่วและวิวาทกันเอง ตัวตนใหญ่โตไม่ใช่คำตอบของการเปลี่ยนชีวิตและสังคม . “การอบรมสมัยใหม่ ค่านิยมปัจจุบัน กระทั่งการทำบุญและปฏิบัติธรรมบางแบบ ส่งเสริมให้เราอยากใหญ่ขึ้น ตัวโตขึ้น เพื่อหวังอำนาจวิเศษดลบันดาลชีวิตอย่างที่ปรารถนา สื่อสังคมออนไลน์ก็หมายมั่นให้เราหวังยอดคนกดชอบ กดแชร์ และยอดชม แต่ยิ่งใหญ่เพียงใดเราก็ต้องพลอยเปรียบตนเองกับผู้อื่น ความสงบใจที่เกิดจากการพึงพอใจก็ยิ่งลดน้อย ตัวใหญ่ก็ยิ่งต้องบำรุงด้วยความอยากมากหลาย ทุกข์เพราะใหญ่ไม่พอยังต้องทุกข์เพื่อรักษาตัวตนให้เท่าเดิมหรือมากกว่า นี่ไม่ใช่สุขแท้เลย . “เมื่อค้อมกายใจ สายลมที่พุ่งประทะไม่มากสักเท่าไร พายุอาจโค่นต้นไม้ แต่มดยังเดินอยู่ตามธรรมชาติ… Continue reading อยู่อย่างเล็ก อ่อนน้อมอย่างหนู : สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๓
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล การประกวดงานเขียนเยาวชน ธรรมวรรณศิลป์ ครั้งที่ ๙
โครงการประกวดงานเขียนเยาวชนครั้งที่ ๙ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ หัวข้อ “ในความมืดมีแสงสว่าง” ประเภทเรื่องสั้น ประจำปี ๒๕๖๒ ขอประกาศรายชื่อเยาวชนผู้ได้รับรางวัลต่างๆ จากการประกวดครั้งนี้ ซึ่งมีผลงานส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น ๑๔๕ ชิ้น ดังนี้ รายชื่อรับรางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา ๕,๐๐๐ บาทพร้อมเกียรติบัตร นางสาว กฤษกร เลิศประเสริฐสุข , โรงเรียน ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ผลงาน “movement” รายชื่อรับรางวัลรองชนะเลิศ ทุนการศึกษา ๓,๕๐๐ บาทพร้อมเกียรติบัตร ๑ นางสาว มัชฌิมา เตชสิทธิ์สืบพงศ์ , โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ผลงาน “มองเห็น” ๒ นาย สิรภพ อักษรชื่น , มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลงาน “เมอร์รีคริสต์มาส มิสเตอร์ลอว์เรนซ์” รายชื่อรับรางวัลชมเชย ทุนการศึกษา ๒,๐๐๐ บาทพร้อมเกียรติบัตร ๑ นางสาว… Continue reading ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล การประกวดงานเขียนเยาวชน ธรรมวรรณศิลป์ ครั้งที่ ๙
ประกาศรายชื่อผ่านเข้ารอบสุดท้าย การประกวดงานเขียนเยาวชน ธรรมวรรณศิลป์ ครั้งที่ ๙
การประกวดงานเขียนเยาวชน รางวัล ธรรมวรรณศิลป์ ครั้งที่ ๙ หัวข้อ “ในความมืดมีแสงสว่าง” ประเภทเรื่องสั้น ประกาศรายชื่อเยาวชนและผลงานที่ ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในการประกวดงานเขียนเยาวชน ประจำปี ๒๕๖๒ ดังรายชื่อต่อไปนี้ ๑ นางสาว วรรณพร พิลึก , มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผลงาน “ผมยังมองเห็นแสงนั่นเสมอ” ๒ นางสาว ณัฐพร พิมพา , โรงเรียนหล่มสักวิทยาคม ผลงาน “เรื่องราวของหยวนหยาง” ๓ นาย สิรภพ อักษรชื่น , มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลงาน “เมอร์รีคริสต์มาส มิสเตอร์ลอว์เรนซ์” ๔ นางสาว พนิดา คงมั่น , มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ผลงาน “กำจันทร์” ๕ นางสาว อภัสนันท์ ป่าเจือ ,… Continue reading ประกาศรายชื่อผ่านเข้ารอบสุดท้าย การประกวดงานเขียนเยาวชน ธรรมวรรณศิลป์ ครั้งที่ ๙
ใครเหงา เข้ามาเขียน : Basic Writing Therapy Class
“ใครเหงา เข้ามาเขียน” Basic Writing Therapy Class << คอร์สเขียนบันทึกดูแลใจ 14 วันทางไลน์/เฟสบุ๊ค เรียนการเขียนบันทึกคลายเหงาในหัวใจ >> การอบรมเพื่อการกุศลในความร่วมมือระหว่างโครงการ Soil Project Thailand และ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ สมัครทาง https://forms.gle/QFrgjWXjA4ZueYG56 การอบรมนี้เป็นคอร์สกึ่งการให้คำปรึกษาแบบออนไลน์ ผ่านการเขียนเยียวยา (Writing Therapy) และเครื่องมือการเขียนในหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต โดยคณะจิตอาสา สถาบันธรรมวรรณศิลป์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการดูแลจิตใจ คลายความเหงา เพาะบ่มความสุข และการทบทวนตนเอง ผ่านการให้คำปรึกษาและการให้การบ้านเขียนบันทึกเพื่อนำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับครูพี่เลี้ยง โดยเน้นสอนแบบตัวต่อตัว หรือครูพี่เลี้ยงสองท่านต่อหนึ่งผู้เรียน เพื่อการลงลึกและความเป็นส่วนตัวของผู้เรียน << การเขียนเยียวยา Writing Therapy คืออะไร >> Writing Therapy คือกระบวนการเสริมสร้างพลังใจ ความคิด และความตระหนักรู้ ผ่านการเขียนบันทึกเชิงจิตวิทยาอย่างมีขั้นตอน Writing Therapy… Continue reading ใครเหงา เข้ามาเขียน : Basic Writing Therapy Class
“ตามหาเด็กน้อยภายใน (ภาคแรก)” v.1 เล่นฟรี
“ตามหาเด็กน้อยภายใน (ภาคแรก)” v.1 เล่นฟรี กิจกรรมเกมเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับ “เด็กน้อยภายใน” หรือปมจากวัยเด็กและภาวะแฝงความเป็นเด็ก โดยเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต สถาบันธรรมวรรณศิลป์ สำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจและผู้เรียนในคอร์ส “เด็กน้อยภายใน” . ???? เล่นเกมได้ที่ : https://gamejolt.com/games/findinginnerchild1/402237 . ⌨️ วิธีการบังคับ : . > ใช้เมาท์คลิกหรือสัมผัสกดหน้าจอเพื่อเปิดข้อความถัดไปในเกม > ใช้เมาท์คลิกหรือกดสัมผัสหน้าจอบนพื้น เพื่อบังคับตัวละครหลักเดินไปยังตำแหน่งนั้น > ใช้เมาท์คลิกหรือกดสัมผัสวัตถุหรือบุคคลขณะตัวละครหลักอยู่ใกล้ เพื่อสนทนาหรือสำรวจวัตถุนั้นๆ > สามารถใช้ปุ่มลูกศรบนคีย์บอร์ดเพื่อบังคับตัวละครหลัก หรือเลื่อนตัวเลือกของเมนู และสามารถใช้ปุ่ม Space Bar แทนการกดตกลง
รายชื่อผู้ได้รับรางวัล PunnSpace Award 2562
รายชื่อผู้ได้รับรางวัล PunnSpace Award 2562 หัวข้อ “How To รักตัวเอง” จากจำนวนผู้ส่ง ๑๔๐ ผลงาน การตัดสินรอบสุดท้ายนั้น พิจารณาจาก ๔ องค์ประกอบ ได้แก่ เนื้อหา , การเรียบเรียงและนำเสนอ , ความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างอารมณ์ร่วมหรือความสะเทือนใจ เมื่อพิจารณาแล้ว ได้ปรากฎรายชื่อที่ควรแก่การได้รับรางวัล ดังนี้ [ รางวัลชนะเลิศ ] ๑ ณิชา พีชวณิชย์-เมื่อฉันอยากลาออกจากบ้าน ๒ สุวิสาส์ สุนทราณู-กระจกบานนั้นบอกฉันว่า… ๓ จิตฐ์พิสุทธิ์ ประเสริฐศักดิ์-ปาฏิหาริย์จากชายหนุ่มในสมุด ๔ กนกพร ตรีครุธพันธ์ – แรกรัก ๕ เกียรติศักดิ์ หงษ์คำ-ความจริงของโลก “ไม่เคยมีใครบอกรักเรา” [ รางวัลชมเชย… Continue reading รายชื่อผู้ได้รับรางวัล PunnSpace Award 2562
ประกาศรายชื่อเข้ารอบสุดท้าย PunnSpace Award 2562
ประกาศรายชื่อผลงานและผู้เข้ารอบสุดท้าย การประกวดบทความ PunnSpace Award ประจำปี ๒๕๖๒ หัวข้อ “How to รักตัวเอง” การประกวดครั้งนี้มีบทความส่งเข้าประกวดทั้งหมด ๑๔๐ ผลงาน คัดเลือกผ่านเข้ารอบสุดท้าย ๒๐ ผลงาน ดังรายชื่อต่อไปนี้ “เมื่อฉันอยากลาออกจาก “บ้าน”” โดย ณิชา พีชวณิชย์ “จุดเปลี่ยนพลิกชีวิต” โดย กนกพิชญ์ ธนะรุ่ง “กระจกบานนั้นบอกฉันว่า…” โดย สุวิสาส์ สุนทราณู “รักตัวเองทำให้ชีวิตมีความหมายและมีความสุข” โดย เมธี ใจติขะ “เหนื่อยก็พัก หัดรักตัวเอง” โดย พัชรกานต์ เสถียรทิพย์ “ฮีโร่ในใจเรา” โดย นเรศ บุญพริ้ง “รักตน ทำตนดี ชีวีเป็นสุข” โดย ภาดล ดีพร้อม “กอด… Continue reading ประกาศรายชื่อเข้ารอบสุดท้าย PunnSpace Award 2562
เขียนบันทึกเพื่อรักตัวเอง #3
เขียนบันทึกเพื่อรักตัวเอง #3 “หมุนไปกับจักรวาล” หากถามผมว่ารักตัวเองอย่างแท้จริงแล้วหรือยัง ในขณะที่ทำหน้าที่สอนเรื่องการรู้จักตัวเองและการรักตน ผมขอยอมรับว่ายัง แม้มีการรักตัวเองอยู่ไม่น้อย แต่สิ่งหม่นหมองแห่งใจหรือกิเลสซึ่งยังคงมีเชื้ออยู่มากนั้นก็ยังขัดขวางให้รักต่อตนเอง ยังมิใช่รักแท้ . ผมพึงใจในการยอมรับข้อเสียอย่างตรงไปตรงมา รู้ว่ายังไม่รักตัวเอง ยังดีกว่าการหลอกตนว่ารักตัวเองแล้ว ขณะที่กาย วาจา และใจยังสื่อสะท้อนว่าความรักต่อตนเองนั้นบกพร่องอย่างไร . สิ่งใดที่บ่งบอกการรักตัวเองอย่างแท้จริง สำหรับผมแล้วพิจารณาอยู่สองทาง ทางหนึ่งคือพฤติกรรมทางกาย วาจา และใจ เป็นไปอย่างก่อทุกข์หรือเป็นไปอย่างลดทุกข์ สมดุลพอดีหรือไม่ หรือใส่ใจแค่บางส่วน อีกทางหนึ่งคือสันติสุขแห่งใจ ตราบใดที่ใจเรายังมีทุกข์ นอกเหนือจากทุกข์ทางกายอันเกิดจากผัสสะธรรมชาติแล้ว เราก็ยังมีความไม่รักตัวเองอยู่ . ผมจะกล่าวต่อไปว่าเป็นเพราะเหตุใด . มองย้อนกลับไป กว่าเราจะเข้าใจถึงการรักตัวเองอย่างถ่องแท้ ต้องผ่านบทพิสูจน์และบทเรียนรู้มาก บ่อยครั้งที่เชื่อว่าเรารักตัวเองแล้ว แต่จริงๆ แอบรักแค่บางด้านที่ดูดีและได้รับการชมเชยจากคนอื่น บ่อยครั้งที่เรื่องเล็กๆ ก็บั่นทอนความมั่นคงของใจได้อย่างคาดไม่ถึง . คืนหนึ่ง ราวหกปีที่แล้ว นับจากตอนเขียนบทความนี้ ขณะอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ทำงานในออฟฟิศห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผมกลับรู้สึกสงสัยว่าเหตุใดเวลาตนเองต้องการปรึกษาใครบ้าง จึงไม่อาจมีใครรับฟังผมอย่างที่ผมรับฟัง ไยเวลานี้ที่ต้องการใครคนหนึ่งมากที่สุด คนทุกคนกลับหายไป หัวใจก็ลากความคิดย้อนเวลากลับไปอีกว่าที่ผ่านมาตั้งแต่เด็กแล้วก็มักเป็นแบบนี้ คนทุกคนมาหาผมเพราะต้องการความช่วยเหลือ… Continue reading เขียนบันทึกเพื่อรักตัวเอง #3
เขียนบันทึกเพื่อรักตัวเอง #2
“ก้าวข้ามพื้นที่ปลอดภัย แต่ไม่ไกลเกินไปจากตัวเอง” อุปสรรคแรกๆ ของผู้เรียนที่เพิ่งเริ่มต้นเรียน เขียนเปลี่ยนชีวิต มักจะรู้สึกเขียนไม่ออกหรือไม่รู้จะเขียนอะไรในช่วงแรกๆ ที่จับปากกาทำแบบฝึกหัดเขียนบันทึก แต่เรามีกติกาใจแนะนำไว้ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ว่า “ให้การเขียนนำหน้า ปากกานำทาง หัวใจตามมา ความคิดจะเกิดขึ้นเอง” เป็นคาถาสำหรับการเริ่มต้น.คำแนะนำนี้จะสวนทางแก่การเขียนเพื่อสร้างชิ้นงานโดยทั่วไปอยู่บ้าง เพราะการเขียนเพื่อสร้างผลงานนั้นเราต้องคิดให้ดีก่อนเขียน วางโครงร่าง ออกแบบเนื้อหา และเขียนอย่างใส่ใจผู้อื่นว่าเขาจะอ่านรู้เรื่องหรือไม่ ชอบไหม เข้าใจหรือเปล่า แต่การเขียนเพื่อเยียวยาหรือเพื่อเข้าใจตัวเองเป็นการขุดค้นลงไปในจิตใจและความเป็นตัวตน ผ่านการเขียนเป็นเครื่องมือ เพื่อออกนอกกรอบและเปลือกที่ห่อหุ้มตัวเอง และสื่อสารกับหัวใจตนมิใช่คนอื่น.เทคนิคพื้นฐานที่ใช้ในทุกการเขียนเปลี่ยนชีวิต หรือการเขียนบำบัด คือเทคนิคที่ผมเรียกว่า การเขียนไม่หยุดปากกา ซึ่งครูอาจารย์ท่านอื่นอาจจะเรียกด้วยชื่อต่างกันออกไป การเขียนลักษณะนี้ไม่ให้ใช้ความคิดก่อนล่วงหน้า แต่ให้ทำตามขั้นตอนแล้วลงมือเขียนเลย เขียนไปเรื่อยๆ กึ่งอัตโนมัติ อนุญาตให้ใจด้นสด ค่อยๆ ลงลึกในจิต ปอกลอกเปลือกตัวตนอันผิวเผิน แล้วเปิดพื้นที่ให้สมองเกิดการแตกกอต่อยอดทางความคิดใหม่ๆ.การเริ่มต้นเขียนเปลี่ยนชีวิตแล้วเขียนไม่ออกในช่วงแรกๆ เพราะใจเรากำลังเผชิญกับขอบของความคิดและความเคยชิน ซึ่งหากเราเปรียบเทียบพื้นที่ปลอดภัยเหมือนไข่แดงตรงกลางแผนภาพไข่ดาว ขอบของความคิดที่ว่านั้นก็คือเส้นขอบกึ่งกลางระหว่างไข่แดงกับไข่ขาว คือขอบที่ขวางกั้นระหว่างพื้นที่ปลอดภัยและความเคยชินกับพื้นที่ชีวิตใหม่ๆ ที่เราไม่รู้จัก.เหมือนช่วงเวลาที่เราต้องทำในสิ่งที่กลัวหรือไม่เคยชิน เราอาจเกิดความรู้สึกลังเล สั่นไหว มีอาการทางกายและทางใจเกิดขึ้น หรือตอนที่เราต้องการนึกถึงบางเหตุการณ์ในอดีตที่ลืมเลือนไปนานแล้ว นึกไม่ค่อยออก แต่พอผ่อนคลายหรือใช้เวลานึกสักครู่หนึ่งก็ระลึกได้ สิ่งเหล่านี้คือภาวะเมื่อขณะใจก้าวออกมาจากพื้นที่ไข่แดงมาหยุดอยู่ตรงกลางว่าจะก้าวข้ามไปยังไข่ขาวได้ไหม.ผู้เรียนบางคนเมื่อเห็นหัวข้อแบบฝึกหัดให้เขียนเก็บรวบรวมคำชื่นชมจากคนอื่นๆ ที่มีต่อตัวเอง แรกเห็นก็นึกว่าง่าย แต่พอเริ่มเขียนแล้วเจออาการเขียนไม่ค่อยออกในตอนต้นๆ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยใส่ใจการชื่นชมตัวเองเลย พอมีคนชมใจก็นึกเถียงว่ามันไม่ได้ดีอะไรมากมาย การเขียนหัวข้อดังกล่าวจึงกระทบขอบของหัวใจเขา… Continue reading เขียนบันทึกเพื่อรักตัวเอง #2