บทความแนะนำให้อ่านระหว่างสัปดาห์ :
[การทบทวนหลังเขียนภาวนา]
https://www.dhammaliterary.org/meditaionwriting-selflearn/
[ศิลปะการเขียนหนึ่งลมหายใจ ตอนที่ ๒ ]
https://drive.google.com/file/d/11eRhahbDFT8J0j2jkuF69SOd-HRbWux_/view?usp=sharing
หัวข้อเลือกปฏิบัติ “เขียนภาวนา”
อ่านจากรูปภาพและข้อความด้านล่าง :
เวลาขั้นต่ำในการปฏิบัติแต่ละหัวข้อคือ 20 นาที
* การเขียนด้วยเทคนิค เขียนต่อจากวลี ให้เขียนแทนเครื่องหมายจุดตามตำแหน่งที่โจทย์กำหนด ให้สังเกตจากตัวอย่าง โดยไม่จำเป็นต้องพยายามตีความหรือเข้าใจวลีที่กำหนด
โจทย์เผื่อเลือก 1 ปล่อยวาง
โจทย์เผื่อเลือก 2 ลมหายใจ
โจทย์เผื่อเลือก 3 พลัดพรากและไม่ยั่งยืน
โจทย์เผื่อเลือก 4 เคลื่อนจิตหวั่นไหว
“เคลื่อนจิตหวั่นไหว”
ส่วนหนึ่งจากบทกวีของ เล่าจื้อ
…
ยกย่อง เหยียดหยาม เคลื่อนจิตให้หวั่นไหว
เคารพทุกข์ภัยใหญ่หลวงดั่งเคารพตน
หมายความว่าอย่างไรเมื่อกล่าวว่า
ยกย่อง เหยียดหยาม เคลื่อนจิตให้หวั่นไหว
เพราะเมื่อถูกยกย่องจิตย่อมหวั่นไหว
เมื่อเขาเลิกยกย่องจิตย่อมหวั่นไหว
นี่แหละจึงกล่าวว่า
ยกย่อง เหยียดหยาม เคลื่อนจิตให้หวั่นไหว
หมายความว่าอย่างไรเมื่อกล่าวว่า
เคารพทุกข์ภัยใหญ่หลวงดั่งเคารพตน
ฉันมีทุกข์ภัยใหญ่หลวงเพราะมีตน
ถ้าตนไม่มี ภัยใหญ่หลวงจะมีแต่ไหน
เพราะเคารพตนเท่ากับเคารพโลก
จึงให้ดูแลโลกได้
เพราะรักตนเท่ารักโลก
จึงฝากโลกไว้ได้
…
ก่อนเขียน :
อ่านบทกวีข้างต้นอย่างมีสติ ซึมซับความหมายด้วยหัวใจและการใคร่ครวญอย่างมีสมาธิ แล้วเลือกส่วนใดส่วนหนึ่งของบทกวีนี้ เป็นวรรควลีหรือคำขึ้นต้นบันทึก
เช่น “นี่แหละจึงกล่าวว่า…”
เขียนเฉพาะเมื่อหายใจออกเท่านั้น ขึ้นต้นด้วยวลีที่ตนเองเลือก ใคร่ครวญบทเรียนจากบทกวีหรือสิ่งที่ฉุกนึกขึ้น เชื่อมโยงกับชีวิตตนเอง
(ใช้วลีที่กำหนดซ้ำหรือไม่ก็ได้)
*** การบ้านระหว่างสัปดาห์ รอส่งในวันเสาร์หน้า ***