๗ ข้อคิดเรื่องความโกรธ จากพระพุทธเจ้า

      ๗ ข้อคิดเรื่องความโกรธ จากพระพุทธเจ้า   ความโกรธ มักเป็นอารมณ์ที่เราอยากให้คนอื่นแก้ไข แต่มักไม่ค่อยสังเกตและแก้ไขในตนเอง ธรรมะและข้อคิดเรื่องความโกรธไม่เพียงเหมาะแก่ผู้มักโกรธหรือหัวเสียบ่อยเท่านั้น แต่ยังเหมาะกับเราที่หัวเสียไม่บ่อยด้วย ทั้งชีวิตที่มิค่อยแสดงความโกรธ แต่เพียงกระทำตามความโกรธแค่ครั้งเดียวก็อาจส่งผลต่อชีวิตชนิดที่ไม่อาจย้อนคืน . . ๑ ความโกรธมีหลายระดับและลักษณะ : . การที่เราจะรู้ทันและดูแลความโกรธเป็น เราต้องเข้าใจก่อนว่าความโกรธนั้นมีหลายแบบหลายระดับด้วยกัน บางครั้งเราปฏิเสธว่านี่มิใช่ความโกรธ แค่หงุดหงิด รำคาญ ดังพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า . “ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความขุ่นเคือง ความเคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความชังทั่ว ความชังเสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความโกรธ.”… Continue reading ๗ ข้อคิดเรื่องความโกรธ จากพระพุทธเจ้า

แก้ง่วง (และใจห่อเหี่ยว) ด้วย ๘ วิธี ๓ คำแนะนำจากพระพุทธเจ้า

    แก้ง่วง (และใจห่อเหี่ยว) ด้วย ๘ วิธี ๓ คำแนะนำจากพระพุทธเจ้า   ครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าทรงเห็นพระโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ จึงทรงปรากฏตรงหน้าให้รู้สึกตัว แล้วทรงตรัสถามด้วยความใส่ใจและให้ข้อแนะนำวิธีแก้อาการง่วงดังกล่าวเพิ่มเติม ซึ่งมิใช่มีประโยชน์แต่เพียงพระโมคคัลลานะเท่านั้น แต่ยังเป็นเทคนิควิธีการที่ใช้ได้แก่ตัวเราเองในการทำงาน การเรียน และการปฏิบัติธรรมอีกด้วย . แบ่งวิธีแก้อาการง่วงและใจห่อเหี่ยวที่ท่านทรงตรัสเป็น ๘ ข้อดังนี้ * โดยไล่เรียงตามลำดับคำแนะนำ หากวิธีการลำดับต้นใช้ไม่ได้ผล ก็ให้ใช้วิธีการลำดับถัดมา  เนื่องด้วยความง่วงเป็นนิวรณ์หรือเมฆหมอกที่ห่อคลุมใจ กลุ่มเดียวกันกับความห่อเหี่ยว หมดพลัง และเศร้าใจ เรียกว่า ถีนมิทธะ คำแนะนำบางประการหลังจากนี้จึงสามารถใช้เพื่อโน้มน้าวจิตให้ตื่นขึ้นจากความห่อเหี่ยว หมดพลัง และเศร้าใจได้ด้วยเช่นกัน . . ๑ พิจารณา สัญญา คือความจำได้หมายรู้และสิ่งนองเนื่องแห่งจิต สำรวจตรวจใจตนเองว่าภายในมีความนึกคิดและเมล็ดพันธุ์แห่งจิตอะไรที่ก่อตัวความง่วงและความห่อเหี่ยวขึ้น เช่นหากชีวิตช่วงนี้เราเอาแต่คิดว่า การงานช่างน่าเบื่อเหลือเกิน , ตัวฉันทำอะไรก็ไม่ดี , ฉันไม่ชอบสิ่งนี้เลย เป็นต้น ความนึกคิดเช่นนี้ใน สัญญา ก็จะเป็นส่วนก่อตัวความง่วงและห่อเหี่ยวแก่ใจ . ๒ ระลึกถึง ธรรมะที่ได้เล่าเรียนมา… Continue reading แก้ง่วง (และใจห่อเหี่ยว) ด้วย ๘ วิธี ๓ คำแนะนำจากพระพุทธเจ้า

๙ แง่คิดประชาธิปไตยในกายจิต (ตอนสอง)

    ๙ แง่คิดประชาธิปไตยในกายจิต (ตอนสอง)   ๖ ระวังจิตถูกยึดอำนาจ : . ประชาธิปไตยภายนอก ได้ผู้นำจากการเลือกตั้ง ประชาธิปไตยภายใน จิตได้ผู้นำจากสติ สำนึกคือผู้ปกครอง ท่ามกลางบุคลิกภาพย่อยหรือตัวตนอันหลากหลายเป็นประชาชน ในตัวเราประกอบด้วยตัวตนมากมาย แต่ละตัวตนคือชุดของความคิด ซึ่งประกอบไปด้วยความต้องการ ความเคยชิน ความเชื่อ และความรู้สึก ต่างผลัดกันทำหน้าที่ขึ้นมาครองเก้าอี้จิตสำนึก เป็นนายกผู้ปกครองเมืองหลวงของจิตใจ ขึ้นชื่อว่าการเมืองแล้วย่อมมีความวุ่นสลับกับความว่าง ตัวนั้นตัวตนนี้ผลัดเปลี่ยนกันมามีอำนาจ เฉกเช่นสภาพสังคมภายนอกใจ . อำนาจภายนอกขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก อำนาจภายในขึ้นอยู่กับปัจจัยภายใน เมื่อใดอำนาจขาดเสถียรภาพ การเมืองย่อมสั่นคลอน มิว่าเรื่องภายนอกตัวหรือภายในจิตใจตนเอง เมื่อใดการปกครองสุดโต่งหรือขาดสติ เมื่อนั้นย่อมเกิดการปลุกปั่นและขบวนการเพื่อหวังพลิกขั้วอำนาจ เป็นธรรมชาติดังลูกตุ้ม เมื่อเหวี่ยงไปในฝั่งใดถึงที่สุด ก็จะรุดรีบผันกลับมาอีกฝ่าย ทั้งอำนาจภายนอกและภายใน ต่างมั่นคงแข็งแรงที่สุดเมื่ออยู่ตรงกลาง นั่นคือภาวะทางการเมืองที่ว่างจากความวุ่นมากที่สุด . จิตของเราเมื่อวันใดถูกครอบงำด้วยอารมณ์อย่างหนึ่งมากเกินไปแล้ว ย่อมมีแนวโน้มที่เราจะดิ้นรนเหวี่ยงแกว่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง มิใช่เฉพาะคนมีปัญหาทางจิตใจที่จะมีสองขั้วสลับไปมาเท่านั้น แต่เราทุกคนต่างมีสองฝ่ายและมากกว่า พลิกข้างกลับไปกลับมาอยู่เสมอ . เมื่อใดใจเราถูกความเกียจคร้านยึดอำนาจ นานวันเข้า ตัวตนอื่นๆ ภายในก็จะเรียกร้องประท้วงเราให้ขยันขันแข็ง แต่แล้วก็เหวี่ยงแกว่งไปยังความกลุ้มกังวลใจ กลัวทำไม่ได้ กลัวทำไม่เสร็จ… Continue reading ๙ แง่คิดประชาธิปไตยในกายจิต (ตอนสอง)

๙ แง่คิดประชาธิปไตยในกายจิต (ตอนแรก)

    ๙ แง่คิดประชาธิปไตยในกายจิต (ตอนแรก)     การเมืองมิใช่เรื่องนอกตัวเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องภายในตัวเราอีกด้วย ความขัดแย้งภายในจิตใจ เงื่อนปม ความคิด อารมณ์ และความสัมพันธ์ต่อตนเองด้านต่างๆ ทางจิตวิทยา เป็นเรื่องการเมืองของกายจิตดีๆ นี่เอง เปรียบเสมือนโลกหรือสังคมขนาดใหญ่ที่จะมีภาวะเป็นสุขหรือทุกข์อย่างไร อยู่ที่การปกครองและองค์ประกอบน้อยใหญ่ของโลกภายในแห่งนี้ . บทความนี้นำเสนอ ๙ ข้อซึ่งเป็นแง่คิดและคำถามชวนเรากลับมาสังเกตดูตนเองว่า ในกายจิตเราเป็นประชาธิปไตยหรือไม่อย่างไร แล้วการเมืองภายในนี้ส่งผลต่อโลกรอบตัวเราอย่างไรบ้าง เพื่อการอยู่กับตนและผู้อื่นอย่างสันติในธรรม . . ๑ ร่างกายและจิตใจคือสังคมขนาดใหญ่ : . ก่อนที่เราจะเข้าใจว่าประชาธิปไตยในตัวเราเองนั้นคืออะไร เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ในร่างกายและจิตใจนี้เป็นสังคมอย่างไร เราทราบดีว่า ร่างกายประกอบด้วยระบบน้อยใหญ่ต่างๆ มากมาย ทั้งแต่อวัยวะ ประสาท เลือด กล้ามเนื้อ เล็กลงไปถึงเซลล์ ทั้งหมดทำงานดังสังคมขนาดใหญ่ที่ต่างฝ่ายมีบทบาทโยงใยต่อกันและกัน . มีระบบภูมิคุ้มกันเป็นกระทรวงกลาโหม โดยมีเม็ดเลือดขาวเป็นทหารหาญ มีเส้นประสาทเป็นระบบราชการโยงใยไปทั่วมณฑล มีสมองเป็นศูนย์ราชการ และส่วนต่างๆ ดังกระทรวงทบวงกรมอีกหลากหลาย . ในจิตใจเองก็มีกลไกต่างๆ อาทิ กลไกปกป้องตัวเอง… Continue reading ๙ แง่คิดประชาธิปไตยในกายจิต (ตอนแรก)

สร้าง “วันว่าง” ด้วยการ “วาง”

    สร้าง “วันว่าง” ด้วยการ “วาง” [ คอลัมน์ ไกด์โลกจิต ตอนที่ ๓๙ ]   บ่อยครั้งที่เรารอทำสิ่งที่ดีให้แก่ตนเอง หรือสิ่งที่มีคุณค่าแก่คนอื่นๆ เมื่อมี “วันว่าง” รอให้มีวันแบบนี้ก่อน บอกแก่ตนเองและคนอื่น แต่บ่อยครั้งที่ “วันว่าง” ได้มาถึง เรากลับ “ไม่ว่าง” พอที่จะทำในสิ่งที่ดีเหล่านั้นอย่างที่พูดไว้ . บทความนี้เป็นการแนะนำข้อคิด ๕ ประการ เพื่อสร้างวันว่างด้วยตนเอง ไม่ต้องรอ และเพื่อความเข้าใจต่อวันว่างที่ถูกต้องอีกด้วย . . ๑ วางใจ : การมีเวลาว่างพอที่จะทำในสิ่งต่างๆ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับว่าเราวางใจไว้อย่างไร . นึกถึงตอนที่สิ่งสำคัญของตนจู่ๆ ก็หายไปหาไม่เจอ แม้ตอนนั้นเราอาจกำลังยุ่งหรือมีธุระ ใจเราอาจคิดค้นหาเสียก่อนจะทำอะไรอย่างอื่น หรือเมื่อตอนคนที่เราห่วงใยกำลังป่วยหรือเป็นทุกข์กะทันหัน ต่อให้ตอนนั้นเรากำลังมีงานหรือ ไม่ว่าง เราก็สามารถหาหนทางดูแลอีกฝ่ายได้ . ต่อให้แม้ไม่ใช่วันว่างหรือเวลาว่าง แต่หากเราวางใจไว้ว่า สิ่งใดสำคัญต่อเรามากๆ แล้ว เราย่อมสามารถแบ่งเวลาและหาหนทางจัดการมันได้… Continue reading สร้าง “วันว่าง” ด้วยการ “วาง”

๑๑ ข้อคิดคอลัมน์ ไกด์โลกจิต ประจำปี ๒๕๖๑

      ๑๑ ข้อคิดคอลัมน์ ไกด์โลกจิต ประจำปี ๒๕๖๑   “หากใครคนหนึ่งทำให้เราเจ็บช้ำ ใครคนนั้นกำลังเป็นครูที่ยิ่งใหญ่ให้แก่ตัวเรา ครูที่ไม่ต้องการศรัทธา ความชอบตอบกลับ คือคนที่สอนให้เราเข้าใจในความทุกข์ . “ทั้งนี้เมื่อเราพบเจอกับเหตุการณ์ที่เลวร้าย ก่อนที่เราจะพยายามลบเลือนความทุกข์ด้วยข้อคิดใด เราควรกลับมาใส่ใจดูแลและรับฟังใจของตนเองอย่างลึกซึ้ง อย่างไม่หน่ายหนีหรือรังเกียจใจตนเองยามบอกช้ำ . “แม้สิ่งใดหรือใครจะพลัดพรากจากเราไป เราต้องไม่ทิ้งหัวใจของตนเอง มิว่าใครเป็นเหตุก่อทุกข์ เราต้องไม่เป็นเหตุก่อทุกข์แก่ใจและร่างกายเราซ้ำเติม เรามีคุณค่าเสมอ หัวใจและร่างกายเรามีคุณค่าเกินกว่าที่จะทำสิ่งเลวร้ายอย่างเดียวกับกับที่ทำร้ายเรา ต่อตัวเราเอง และต่อใคร” . จากบทความ คุณค่าแท้การให้ “อภัย” เผยแพร่เดือนมกราคม ๒๕๖๑ . . “หลายครั้งเราก็หลงลืมว่า คุณค่าและสิ่งสำคัญในชีวิตคือสิ่งที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด นั่นคือ จิตใจ และ ร่างกายตนเอง เราได้ดูแลอย่างสมดุลหรือไม่หากเทียบกับสิ่งนอกตัว ในสังคมปัจจุบันมีกระแสหลากหลายฉุดดึงให้เราสนใจเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที ผลักดันให้เราทะยานอยากและใฝ่หวังถึงบางสิ่งที่มีค่า ดิ้นรนขวนขวายเพื่อสิ่งเหล่านั้น ไขว่คว้าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า . “แล้วหันหลังให้ขุมทรัพย์ของชีวิตที่มีค่ามากที่สุดทรัพย์หนึ่ง ที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด นั่นคือสุขภาพของร่างกาย หากหัวใจเรายังรักตัวเองได้ไม่มากพอ เรามักเห็นสิ่งที่ตนเองไม่มีสำคัญกว่าสิ่งที่มีแล้ว จนวันหนึ่งเรากำลังจะสูญเสียสิ่งที่มีไป… Continue reading ๑๑ ข้อคิดคอลัมน์ ไกด์โลกจิต ประจำปี ๒๕๖๑

๘ วิธีเข้มแข็งจากภายใน ไม่ยากเลย (ตอนสอง)

    ๘ วิธีเข้มแข็งจากภายใน ไม่ยากเลย (ตอนสอง)     ๕ อย่าพยายามหนีความจริงและความรับผิดชอบ : . ความเข้มแข็งที่แท้จริงเกิดจากการกล้าเผชิญหน้าด้วยใจยอมรับ ยิ่งเราพยายามหนีปัญหาและหาทางลัด บอกปัดความรับผิดชอบ หรือตีกรอบเป็นกำแพงด้วยความคิดและข้ออ้าง ไม่ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา ยิ่งทำให้จิตใจเราอ่อนแอลง . เพียงแค่เรายอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความรับผิดชอบ ตอนนั้นเราก็กล้าหาญมากแล้ว และมีโอกาสที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมไปกับพัฒนาตนเอง ต้องมีความกล้าเท่านั้นจึงจะยอมรับความจริงและรับผิดชอบได้ คนที่ไม่กล้ายอมรับและรับผิดชอบสิ่งต่างๆ คือคนที่ไม่อาจเห็นความเข้มแข็งในตนเองได้เลย . หากเราพยายามแต่จะปกป้องตนเองและหาทางลัด เราอาจรอดไปจากเหตุการณ์นั้นได้ชั่วคราว แต่เราจะไม่เติบโต ไม่รู้สึกภาคภูมิกับตนเอง และเกิดเรื่องเดิมขึ้น เราก็จะทุกข์อีกและมีแนวโน้มว่าจะซ้ำร้ายกว่าเดิม . เมื่อใจรู้สึกทุกข์ หากขาดสติแล้วใจก็มักจะพยายามหนีความทุกข์หรือสร้างกำแพงขึ้นมาห่อล้อมใจไว้ เป็นไปตามความเคยชิน แต่ปัญหาก็จะไม่ได้รับการแก้ไขและตัวเราก็จะไม่เข้าใจความจริงของชีวิต เพราะปัญหาหรือทุกข์ที่เกิดขึ้นคือความจริง การยิ่งพยายามหนีจากทุกข์ยิ่งทำให้เราหลอกตัวเอง ทำมากเข้าก็หลอกตัวเองเป็นชั้นๆ ทับซ้อนจนเป็นเงื่อนปมซับซ้อน . การเข้มแข็งจากภายในเกิดจากการเคารพตนเอง ภาคภูมิใจในตนเองได้ ยิ่งเรายอมแพ้แก่ความอ่อนแอข้างใน วงจรการหลอกตัวเองและการพยายามหนีจากทุกข์ก็จะดำเนินต่อไป ย้ำความอ่อนแอแก่ใจมากขึ้นๆ เมื่อถึงที่สุดทุกข์ก็จะทุกข์ยิ่งกว่าที่เป็นจริง ด้วยใจที่ไม่ยอมรับความจริงนั้น . ความรับผิดชอบคือคุณสมบัติสำคัญของผู้มีความเข้มแข็งจากข้างใน ความรับผิดชอบนี้เกิดจากการรู้หน้าที่ แต่ก็เกิดจากการยอมรับความจริงที่เป็นด้วย เพราะยอมรับความจริงเท่านั้น เราจึงรู้ว่าควรทำอะไรและไม่ควรทำสิ่งใด… Continue reading ๘ วิธีเข้มแข็งจากภายใน ไม่ยากเลย (ตอนสอง)

๘ วิธีเข้มแข็งจากภายใน ไม่ยากเลย (ตอนแรก)

      ๘ วิธีเข้มแข็งจากภายใน ไม่ยากเลย (ตอนแรก)   บางครั้งเราต้องยิ้มแม้หัวใจกำลังร้องไห้ พยายามให้ภายนอกดูเข้มแข็งและสู้ต่อ แม้ภายในหวั่นไหวและเปราะบางเหลือเกิน บางครั้งเราก็หวังให้ตนเองมั่นคงกว่านี้ ไม่ทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีกดังที่เคยเป็นมา เราต้องการความเข้มแข็งเพื่อยืนหยัดต่อความทุกข์ทั้งหลาย ซึ่งบางเวลามันดูเหมือนมากมายไม่รู้สิ้นสุด . เราไม่อาจพึ่งพาสิ่งนอกตัวให้เรามั่นใจและมั่นคงได้เสมอไป แม้สิ่งเหล่านั้นจะเคยวางใจได้ก็ตาม วันหนึ่งเราก็ต้องพบว่าตนเองอยู่ลำพัง บางครั้งเวลาก็มิได้ช่วยอะไร แต่เป็นใจเราที่เรียนรู้มากพอจะเติบโตจากสิ่งเหล่านั้น ให้เข้มแข็งมากพอที่จะพึ่งพาตนเองแล้วฝ่าข้าม เราเคยเข้มแข็งมากชนิดที่ไม่ต้องคอยวางแผนหรือกังวลกับสิ่งทั้งหลายมาก เมื่อตอนเป็นเด็ก เราจะนำความเข้มแข็งเหล่านั้นกลับมาได้อย่างไร . ความเข้มแข็งแบบหนึ่งเกิดขึ้นจากภายใน ขณะที่เรามักเรียนรู้ที่จะเข้มแข็งด้วยการสร้างกำแพงและเกราะหนาห่อหุ้มตนเองมาตลอด เข้มแข็งจากภายนอก จนใจก็ลืมไปว่าตนเองมีความกล้าหาญข้างในอย่างไร กำแพงอาจต้านทานและกั้นขวางบางอย่างได้ แต่บ้านจะมั่นคง ต้องมีหลักข้างในที่แข็งแกร่ง ชีวิตและหัวใจเราเองจะมั่นคงได้ มิใช่ด้วยความเข้มแข็งจากภายนอกเท่านั้น . บทความตอนนี้แนะนำหนทางชุดหนึ่งเพื่อบ่มเพาะความเข้มแข็งอันเกิดจากภายในตัวเราเอง ไม่ยากเลย ขอเพียง… . . ๑ พาใจกลับมาที่ร่างกาย : เมื่อพบปัญหาหรือความทุกข์ใจ จิตมักถูกกระแสของความคิด คำพูด และเหตุการณ์ทั้งหลาย พัดพาล่องลอย ทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ อย่างที่ไม่อาจควบคุมได้ เหวี่ยงไปมา ประเดี๋ยวสุข ประเดี๋ยวทุกข์ พอมีสิ่งต่างๆ… Continue reading ๘ วิธีเข้มแข็งจากภายใน ไม่ยากเลย (ตอนแรก)

๕ แง่คิดเมื่อถูกเข้าใจผิด

      “๕ แง่คิดเมื่อถูกเข้าใจผิด”  คอลัมน์ #ไกด์โลกจิต     ๑ คุณค่าไม่ได้ขึ้นกับความเข้าใจ : . เมื่อใดที่คนอื่นเข้าใจตัวเราผิดพลาด แล้วทำให้รู้สึกหม่นหมอง เสียกำลังใจ โกรธหงุดหงิด หรือน้อยเนื้อต่ำใจ แสดงว่าใจเรากำลังผูกคุณค่าตนเองไว้ที่มุมมองกับความคิดของผู้อื่น และการได้รับความเข้าใจ จนเป็นทุกข์ . การใส่ใจความคิดและความรู้สึกของผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดี แต่หากเราถือสิ่งนี้ไว้มากเกินไปจนไม่มีหลักยึดให้ใจหนักแน่นพอ หัวใจก็จะเป็นลูกบอลที่ถูกยื้อแย่งและส่งไปหาคนนั้นที คนนี้ที มิได้กลับมาหาคุณค่าที่ตนเองอย่างมั่นคง ความสุขทุกข์ก็จะขึ้นอยู่กับผู้อื่น . เรากำลังนำภาพที่คนอื่นมองเห็นมาเป็นเนื้อตัวเรา ทั้งที่ความคิดคนผันแปรไม่แน่นอน เมื่อใดอารมณ์ดีความคิดก็เป็นอย่างหนึ่ง เมื่อใดอารมณ์เสียความคิดก็เปลี่ยนแปลง ยามทำถูกใจก็ยกยอชื่นชม ยามขัดใจก็หมิ่นหยามหมางเมิน . ตัวเราคือสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ณ ตรงนี้ มิใช่ในดวงตาหรือความคิดใคร หากเราถือตนเองเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งที่คนอื่นมอง ก็เสมือนถือว่าภาพจากเครื่องฉายเป็นของจริง เมื่อใดเขาไม่สนใจไยดีหรือคิดเห็นเป็นอื่น เราก็รู้สึกด้อยค่าประหนึ่งไม่มีตัวตน . การถูกเข้าใจผิดมิได้ติดตราประทับไว้ที่ตัวเราแต่เพียงลำพัง คนที่ทำคุณงามความดีหลายคนย่อมเคยผ่านการถูกเข้าใจผิด หรือแม้แต่การถูกประณามหยามเกียรติ ศาสดาของศาสนาต่างๆ ย่อมเคยถูกเข้าใจผิดหรือคิดเห็นในทางลบร้ายจากผู้อื่น ก่อนที่ท่านจะก้าวผ่านด้วยสัจจะ ศรัทธา และปัญญา . หากพวกท่านนำคุณค่าจากสายตาผู้อื่นมาเป็นเครื่องชี้วัดตัดสินคุณค่าแล้ว… Continue reading ๕ แง่คิดเมื่อถูกเข้าใจผิด

๗ วิธีไม่สมบูรณ์แบบ ลดความเป็นนัก(ใฝ่)สมบูรณ์แบบ

      บทความนี้ได้ถูกนำมาเรียบเรียงใหม่แล้ว อ่านฉบับใหม่ได้ที่ https://www.dhammaliterary.org/reduce-perfectionist/     ๗ วิธีไม่สมบูรณ์แบบ ลดความเป็นนัก(ใฝ่)สมบูรณ์แบบ   “Perfectionist” เป็นลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่พยายามทำให้สิ่งต่างๆ หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ใส่ใจ ดีครบถ้วนสมบูรณ์ตามมาตรฐานหรือหลักการที่ยึดถือ แต่มักทุ่มเทและจดจ่อเกินไป จนกลายเป็นความเครียดและการบีบคั้นตนเองและผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง รู้สึกยากที่จะพอใจและเชื่อใจ . เราทุกคนสามารถมีภาวะและลักษณะเช่นนี้ได้ บางคนมีลักษณะนี้เป็นบุคลิกประจำตัวอาจพยายามทำให้ “เป๊ะ” ทุกเรื่องหรือหลายเรื่อง หลายคนที่ไม่ได้มีบุคลิกนิสัยนี้ก็อาจมีเรื่องบางเรื่องที่จะจดจ่อมากเป็นพิเศษ อ่อนไหวมากกว่าเรื่องอื่น ถ้าหากว่าลักษณะอาการนี้มีมากเกินไปจนไม่อาจควบคุมได้ จักกลายเป็นอาการทางจิตเรียกว่า “Perfectionism” ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต . – สัญญาณที่บอกว่าเราอาจกำลังใฝ่ความสมบูรณ์แบบในเรื่อง/คนนั้นๆ เช่น – กลัวความผิดพลาดและความไม่แน่นอนกับเรื่อง/คนดังกล่าวจนวิตกกังวล – ทุ่มเทเต็มที่และตั้งใจเกี่ยวกับเรื่อง/คนดังกล่าวจนเกินพอดี พยายามเข้าไปจัดการแม้แต่เรื่องเล็กๆ สิ่งน้อยๆ – รับผิดชอบมากเกินไปจนกลายเป็นการแบกรับและทำให้เราละเลยเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญ หรือไม่ค่อยได้พัก – โกรธหรือหงุดหงิดง่ายหากเรื่อง/คนดังกล่าวไม่เป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่เรียบร้อย – ใส่ใจรายละเอียดมากเกินไป จนไม่อาจวางใจหรือปล่อยวาง – จับผิดเล็กๆ น้อยๆ เห็นข้อตำหนิข้อบกพร่องมากมาย แต่ไม่ค่อยใส่ใจข้อดีที่มีอยู่ –… Continue reading ๗ วิธีไม่สมบูรณ์แบบ ลดความเป็นนัก(ใฝ่)สมบูรณ์แบบ