“อารมณ์ศิลปะ” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๘

  “อารมณ์ศิลปะ” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๘ โดย น้องเล็ก   “We rip the start, the colors disappear I never watch the stars there’s so much down here So I just try keep up with them Red, orange, yellow flicker beat sparking up my heart.”*   เขาว่ากันว่าศิลปินเมื่อผิดหวังหรือไม่พอใจในบางสิ่งบางอย่าง จะสามารถสร้างผลงานชิ้นเอกได้ ณ เวลานั้น เขาจะทุ่มเทหัวใจและฝีมือสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนถึงความเจ็บปวดและโศกเศร้า ระบายความไม่ได้ดั่งใจและโทสะ ซึ่งฝังรากหยั่งลึกในหัวใจของเขาออกมาสู่งาน ความผิดหวังยิ่งรุนแรงมากเท่าใด อารมณ์ที่ส่งต่อสู่ชิ้นงานก็จะมีความจริงจังมากขึ้นเท่านั้น สร้างสรรค์ศิลปะประดับคู่โลกใบนี้ได้อย่างเต็มภาคภูมิ ฉันไม่เคยอยากสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเลยด้วยซ้ำไป เพราะฉันไม่เห็นถึงความสวยงามที่งานศิลปะมีนอกเหนือไปจากวัตถุธรรมดาก็มีได้… Continue reading “อารมณ์ศิลปะ” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๘

“บทที่ขีดเขียน” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๗

    “บทที่ขีดเขียน” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๗  โดย น้องเล็ก     “Down an unknown road to embrace my fate
 Though that road may wonder,it will lead me to you 
And a thousand years would be worth the wait 
It may take a lifetime but somehow I’ll see it through.”*   นิยามของคำว่ารักยังคง undefined ต่อไป แต่ฉันเชื่อว่าความรักที่แท้จริงทำให้เราอยากเป็นคนดี อยากพัฒนาตัวเองให้เหมาะสมกับเขา หรืออย่างน้อยทำให้เขาภาคภูมิใจและไว้วางใจเรา… Continue reading “บทที่ขีดเขียน” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๗

“ให้รักนำทาง” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๖

    “ให้รักนำทาง” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๕  โดย น้องเล็ก     “Like dark turning into day Somehow we’ll come through Now that I’ve found you Love will find a way.”*   ฉันเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่ามนุษย์แต่ละคนแตกต่างกัน แตกต่างทั้งเชื้อชาติ ศาสนา ทัศนคติและความเชื่อ ซึ่งมีผลมาจากการกระทำที่ต่างกัน ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงไม่เหมือนกัน แต่ฉันก็เชื่ออีกว่ามนุษย์เรานี่ช่างเหมือนกันเสียนี่กระไร ทั้งความรู้ไม่จริง ทั้งมีความฝัน ความอยาก ความชอบ และความรัก… ความรักนี่แหละที่เป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง ฉันเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมฉันถึงเชื่อมั่นในความรักนักหนา ทั้งๆ ที่มันเป็นนามธรรม พิสูจน์ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าไม่ได้ แต่ฉันก็เชื่อมาโดยตลอดว่า ความรักเป็นบ่อเกิดของทุกสิ่งจริงๆ ‘แตกต่างเหมือนกัน’ ท่ามกลางโลกที่มีผู้คนมากหน้าหลายตา ร้อยพ่อพันแม่ บัณฑิตแลนักปราชญ์ผู้แสวงหาความจริงอาจรู้สึกเหว่ว้าได้ง่ายๆ ยิ่งเป็นบัณฑิตผู้มีไหวพริบสติปัญญาเฉียบ ความเบื่อหน่ายในชีวิตมนุษย์ย่อมเกิดขึ้นภายในใจของบัณฑิตผู้นั้นอย่างแน่นอน… Continue reading “ให้รักนำทาง” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๖

“มองเปลี่ยนมุม” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๕

    “มองเปลี่ยนมุม” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๕  โดย น้องเล็ก   “อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน ตามความคิดสติเราให้ทัน อยู่กับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน แล้วทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด”*     ว่ากันว่าสมองของมนุษย์มีขีดจำกัดให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้เพียงด้านเดียว? ไม่จริงหรอก… คนเรามีดวงตาสองข้างซ้ายขวา ทำให้เกิดภาพในสมองได้หลากมิติมากขึ้น! นั่นก็จริงส่วนหนึ่ง แต่การมองเห็นในที่นี้หมายถึงการมองจากดวงตา ‘ภายใน’ ต่างหาก ด้วยความสามารถพื้นฐานของคน มักจะยึดติดกับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเสมอ การยึดติดก็เหมือนกับการทากาวตราช้างลงบนตัวเองแล้วไปติดหนึบกับ ‘ของสิ่งนั้น’ ทุกคนย่อมรู้ดีว่ากาวตราช้างนั้นช่างแสบร้อนเหลือหลาย! การที่คนยึดติดข้างใดข้างหนึ่งของ ‘ของสิ่งนั้น’ มากเกินไปก็เนื่องมาจากความไม่รู้และทิฏฐิดื้อรั้นไม่ยอมเปิดหูเปิดตาเปิดใจรับรู้รับฟังสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับทัศนคติของตัวเอง ‘สิ่งนี้’ แหละที่จะนำเขากลับเข้าสู่วังวนแห่ง วัฏจักรชีวิตต่อไปเรื่อยๆ เพราะที่แท้จริงแล้วทุกสิ่งไม่ได้มีด้านเดียวหรอก คนธรรมดาอาจจะอยากเห็นแค่ด้านเดียวเพราะเขาพอใจอยู่แค่นั้น แต่หากเขาปรารถนาที่จะเป็นบัณฑิต เขาจะต้องใช้น้ำล้างกาวนั่นเสียก่อน และต้องค่อยๆ แกะกาวออกมา และตัวเขาก็จะค่อยออกมาจากจุดที่เขายึดติดทีละนิดๆ หากว่าโลกใบเดิมของเราถูกตีกรอบเอาไว้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าโลกนั้นมีกรอบ ถ้าหากเราไม่ได้ออกมาจากกรอบของโลก และเท้าของเราอยู่ติดกับพื้น…? การปรับเปลี่ยนมุมมองคือการปฏิวัติชีวิตของคนเราเลยก็ว่าได้ เขาจะมองเห็นด้านหนึ่งของโลกได้ก็ต่อเมื่อเขาลองหันมองดูรอบๆ ตัว ซ้าย ขวา หน้า หลัง…… Continue reading “มองเปลี่ยนมุม” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๕

“หลากรสในหนึ่ง” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๔

    “หลากรสในหนึ่ง” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๔  โดย น้องเล็ก   ชีวิตก็เป็นเช่นนี้ล่ะ! หลากหลายรสชาติที่ต่างกันรวมกันอยู่ในชีวิตของคนเรานี่แหละ! แต่ไม่ว่ารสชาตินั้นจะแตกต่างหลากหลายมากเท่าใด ก็ยังก่อเกิดส่วนผสมและสูตรที่ลงตัว ไม่ว่าระหว่างใช้ชีวิตจะยุ่งเหยิงสักเท่าไร ส่วนผสมทุกอย่างถูกใส่รวมกันหมด เขย่าแล้วเขย่าอีก คนแล้วคนอีก ใส่วัตถุดิบเพิ่ม ใส่เหตุการณ์ใหม่ลงไป เหยาะซอสเพิ่มความกลมกล่อม… สุดท้ายแล้วชีวิตของทุกคนต่างก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สวยงาม หอมหวาน รสชาติถูกใจผู้ปรุงและผู้ชิมเป็นอย่างยิ่ง! สิ่งที่น่าตลกก็คือ ไม่ว่าทุกอย่างจะเละเทะ ขาดๆ เกินๆ บ้าง ตั้งไฟแรงเกินบ้าง ใช้เวลานานเกินไปบ้าง บทสรุปของชีวิตคือการยอมรับ เข้าใจมัน ปล่อยวางบ้างก็ได้ และมีชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อรัก… ชีวิตอีกมาก ความรักก็เป็นเรื่องตลกแบบนี้เหมือนกันหรือเปล่า? เขาว่ากันว่า ความรักเป็นสิ่งที่ก่อเกิดทุกสรรพสิ่ง… และอีกร้อยพันนิยามสำหรับความรัก มนุษย์เราช่างสรรหาสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อแปลความรักให้เป็นรูปธรรมมากมายเหลือเกิน… ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร รูปภาพ ภาษากาย แม้กระทั่งคำว่า ‘ความรัก’ ยังไม่สามารถทำให้เราเข้าใจแม้เพียงเศษละอองทุลีของความรักอันยิ่งใหญ่ อันขบขันนี้ได้เลย ความแตกต่างหลากหลายของส่วนผสมชีวิตของ ‘เมนูชีวิต’ ยิ่งมากยิ่งอร่อยฉันใด ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยกันยิ่งต่างกันมากก็ย่อมมีประโยชน์มากฉันนั้น… เส้นทางชีวิตของคนเรา หากได้พบเจอผู้คนที่แตกต่างจากเราโดยสิ้นเชิง ย่อมเป็นโอกาสที่เราจะเรียนรู้อะไรได้อีกมากมายคล้ายๆ… Continue reading “หลากรสในหนึ่ง” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๔

“รักลงรอย” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๓

    “รักลงรอย” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๓  โดย น้องเล็ก     “ต่างกันแค่ไหน แต่ถ้าขาดกันไป คงจะไม่ไหว ไปไม่รอดสักอัน มาเป็นคู่ช่วยกันอยู่ทุกที ถึงต่างกันอย่างนี้ก็เป็นคู่กัน” *   ความรักคืออะไร? What is love? ฉันนึกถึงคำถามนี้ขึ้นมา เมื่อรู้สึกว่า สิ่งที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตได้โบยบินจากไปแล้ว… แนวทางชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกันไป หากเมื่อมีชะตาที่จะต้องเดินทางร่วมกันและได้ใช้เวลาด้วยกันอย่างมีคุณค่า ด้วยความรัก การสังเกตเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน จะได้พบเจอประสบการณ์ใหม่ๆ ด้วยกัน และแบ่งปันเรื่องราวเก่าๆ ให้แต่ละคนได้รับรู้ เวลาที่มีคุณค่ามากมาย ช่วงเวลาเหล่านี้คงเป็นความทรงจำที่ดี ตราตรึงอยู่ในหัวใจตลอด… ทว่าหากตลอดเวลาที่ใช้อยู่ด้วยกันกลับมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยึดมั่นถือมั่นในอีกฝ่ายมากเกินไป หรือกลับดูถูกเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งไม่ว่าเหตุผลอะไรก็ตาม ผลลัพธ์ของช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันจะถูกตีค่าออกมาเป็นความเจ็บปวด พร้อมๆ กับบาดแผลเรื้อรังที่จะคอยกัดกินใจ และทำลายจิต กลายเป็นระเบิดเวลาที่ตัวเลขลดน้อยลงเรื่อยๆ เพื่อรอวันที่ความอึดอัดจะระเบิดออกมา และสาเหตุที่น่าเจ็บปวดที่สุดในการที่จะก่อระเบิดเวลานี้ก็คือ ‘ความไม่เข้าใจกัน’ ‘การไม่ลงรอยกัน’ เป็นปัญหาใหญ่ระดับจักรวาลเลยก็ว่าได้ อันเนื่องมาจาก ‘ความไม่สมดุล’ ความไม่สมดุลนี้แหละที่เป็นตัวการในการก่อกำเนิดสรรพสิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ภาพใต้ท้องฟ้ากว้างใหญ่ ท่ามกลางหุบเขาสายรุ้ง และระหว่างดวงดาวน้อยใหญ่ทั่วทั้งเอกภพ ดาราจักร… Continue reading “รักลงรอย” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๓

“ความรักสวยงามเสมอ” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๒

    “ความรักสวยงามเสมอ” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๒  โดย เล็ก     บ่ายวันหนึ่งในคาบเรียนศิลปะ คุณครูสาวใจดีพานักเรียนออกมาเดินเล่นในสวนหย่อมของโรงเรียน บอกให้เด็กๆ เตรียมสีไม้หรือสีเทียนมาด้วย พร้อมทั้งให้กระดาษสีขาวแก่นักเรียนตัวน้อยคนละหนึ่งแผ่น เดาได้ไม่ยากว่าคงจะให้เราวาดรูประบายสีเป็นแน่แท้ ถูกต้องทีเดียว คุณครูบอกว่าให้วาดรูปธรรมชาติอย่างไรก็ได้ ทันทีที่คำสั่งมอบหมายงานสิ้นสุดลง เหล่าเด็กน้อยต่างเดินเล่นในสวนหย่อม บ้างคนเป็นคู่ บ้างเดินเป็นกลุ่ม แต่ไม่มีใครลืมโจทย์ที่คุณครูมอบหมายให้วาดรูปธรรมชาติในที่แห่งนี้ เราเดินไปใกล้ๆ สระน้ำ แถวนั้นมีโขดหินเปียกๆ อยู่ คงเป็นน้ำที่กระเด็นจากน้ำตกประดับสวนนี้ เมื่อหามุมเหมาะสมสำหรับการลงมือวาดเขียนธรรมชาติได้แล้ว เราก็นั่งลงที่พื้นดิน ใช้โขดหินที่แห้งสนิทต่างโต๊ะวาดรูป พร้อมกับสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว เห็นรังมดจำนวนมากบนพื้นดิน หก เจ็ด แปด… มีทั้งหมดสิบรังเท่าที่สังเกตเห็นจากมุมมองตรงนี้ เห็นต้นหญ้าต้นน้อยๆ บนผิวดินที่ชื้นแฉะ ได้ยินเสียงน้ำตกกระทบลงในสระน้ำดังซู่ๆ กลิ่นไอดินยังคงลอยฟุ้งในอากาศจากฝนที่ตกเมื่อช่วงเช้า เห็นผีเสื้อสามสี่ตัวกระพือปีกบินอยู่ใกล้ๆ เรา สีสันลวดลายบนปีกไม่ซ้ำกันแม้สักตัว ได้ยินเสียงนกกระจอกร้องจิ๊บๆ ก่อนจะบินทะยานขึ้นไปเกาะกิ่งไม้ เห็นต้นราชพฤกษ์ที่ออกดอกสีเหลืองงามสะพรั่ง ฝูงปลาคาร์พที่แหวกว่ายอยู่ในสระน้ำก็มีสีและลายไม่ซ้ำเหมือนกัน เราจะวาดอะไรดีนะ? หนึ่งสัปดาห์ต่อมาในคาบศิลปะ ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์อยู่ฝั่งทิศตะวันตก คุณครูให้หัวหน้าห้องแจกชิ้นงานที่เราวาดในสวนหย่อมเมื่อสัปดาห์ก่อน เอ๊ะ! ทำไมเราถึงได้แค่หกคะแนนกันนะ?… Continue reading “ความรักสวยงามเสมอ” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๒

“ใครทำร้ายสนามเด็กเล่นของเรา” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๑

    “ใครทำร้ายสนามเด็กเล่นของเรา” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๑  โดย เล็ก     ตั้งแต่เด็กจนโต เราได้รับการปลูกฝังว่าให้ตั้งใจเรียน จะได้มีเกรดที่ดี จบมามีงานทำ มีเงินเดือน เป็นเจ้าคนนายคน มีบ้าน มีรถ จะได้ดูแลพ่อแม่ยามแก่เฒ่า ทุกครั้งที่พบกับญาติๆ ในต่างจังหวัด เรามักจะได้ยินคำสั่งสอนเหล่านี้จนติดหูมาบ้าง ไม่มากก็น้อย มีการถามไถ่เรื่องชีวิตการเรียน หากโตหน่อยก็ไถ่ถามเรื่องการงาน เรื่อยไปจนถึงการเงิน ค่านิยมเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากไหนกันหนอ? หากจะย้อนกลับไปมองดู น่าจะเริ่มช่วงที่มนุษย์ชาติเริ่มมีไฟฟ้าให้ใช้งาน แต่เรื่องนั้นยกไว้ก่อนดีกว่า คำถามจากเด็กน้อยภายในคือ ‘ทำไมคนเราถึงมีแนวโน้มว่าจะทำร้ายธรรมชาติกันนะ?’ เราจำได้ เมื่อตอนเด็กๆ ตอนได้ของเล่นชิ้นใหม่ที่ดูน่ารักสวยงาม เราก็มักจะชอบเล่นมันอยู่เรื่อยๆ เล่นทั้งวันไม่มีเบื่อ แต่พอมีเพื่อนมาขอยืมไปเล่นบ้าง พอได้ของเล่นกลับคืนมา ความรู้สึกของเราก็เปลี่ยนไปอีกครั้ง เหมือนกับว่าของเล่นชิ้นนั้นไม่ใช่ของเราอีกแล้ว เพียงเพราะว่าเพื่อนยืมไปเล่นแค่ครู่เดียว เราจึงรู้สึกเหมือนถูกทรยศ ของเล่นของเรากลับกลายเป็นของคนอื่นเสียได้ แม้ลึกๆ เราก็รู้ดีว่าการที่ให้เพื่อนยืมเล่นได้คือการแบ่งปัน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี ลดความเห็นแก่ตัวในตัวเอง ฝึกให้ความสุขกับคนรอบข้าง ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีทีเดียวที่เด็กน้อยคนหนึ่งจะสามารถทำได้ มองย้อนกลับไปก็แอบภูมิใจตัวเองน้อยๆ อยู่นะ พอเริ่มรู้เดียงสามากขึ้น ได้พบกับของเล่นมากหน้าหลายตาที่ผ่านเข้ามาในชีวิต สั้นบ้างนานบ้าง… Continue reading “ใครทำร้ายสนามเด็กเล่นของเรา” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๑